ข้อแนะนำ 8 ประการในการจัดการความโกรธทางพระพุทธศาสนา

เราอยู่ในยุคสมัยที่บอกให้เราระบายความโกรธออกมาได้ แต่พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงเห็นด้วย การแสดงออกความโกรธจะทำให้ทำอีกครั้งได้ง่ายขึ้นในอนาคต ซึ่งนำไปสู่วงจรที่ไม่มีวันจบสิ้น พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เราไม่ควรจะเก็บกดความรู้สึกโกรธนี้เอาไว้ หรือ ปล่อยให้อารมณ์ของเราล้น แต่ควรที่จะวิเคราะห์อารมณ์เหล่านี้ให้เข้าใจความคิดผิดๆ ที่อยู่เบื้องหลังความโกรธ
Study buddhism 8 buddhist tips dealing with anger

ชาวพุทธมักจะพูดถึงความรัก ความความเห็นอกเห็นใจและความอดทนอยู่เสมอ แต่เมื่อกระทั่งปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่เช่น องค์ดาดาไลลามะยอมรับว่าโกรธเป็นบางครั้ง มีความหวังสำหรับพวกเราที่เหลือไหม วิทยาศาสตร์อาจบอกว่าความรู้สึกโกรธเป็นเรื่องปกติธรรมดาโดยสิ้นเชิง นักจิตวิทยาแนะนำให้เราแสดงความโกรธออกมา  และบางศาสนาอาจมีความโกรธที่ชอบธรรม ในทางตรงข้าม พระพุทธศาสนาบอกว่าความโกรธไม่ดีเสมอ 

อาจารย์ศานติเทวะ นักวิชาการชาวพุทธในศตวรรษที่ 8 อธิบายความโกรธว่าเป็นพลังด้านลบที่สุด ที่มีความสามารถในการทำลายความดีที่เราได้ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้าง ขอให้คิดพิจารณาเรื่องนี้นี้ ชั่วขณะหนึ่งแห่งความโกรธรวมกับการเข้าถึงปืนสามารถเปลี่ยนอนาคตของใครบางคนโดยสิ้นเชิงจากชีวิตที่เป็นอิสระไปสู่ชีวิตหลังลูกกรงได้  อีกตัวอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันมากกว่า คือความโกรธสามารถทำลายมิตรภาพและความไว้วางใจที่อาจใช้เวลาหลายสิบปีในการสร้าง ในที่สุด ความโกรธก็อันตรายยิ่งกว่าระเบิด ปืน และมีดทั้งหมดในโลก 


เรารู้ว่าความโกรธไม่ใช่สภาวะจิตใจที่มีความสุข แต่เราจะทำอย่างไรกับมันได้ พระพุทธศาสนาเสนอวิธีการง่ายๆ มากมายที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนสภาพจิตใจของเรา แต่ขอเตือนสักหน่อยว่า ไม่มียาวิเศษเม็ดใด ต่อไปนี้คือข้อแนะนำ 8 ประการทางพระพุทธศาสนาในการจัดการกับความโกรธ

1.  นั่นคือชีวิต: สังสารวัฏ

คำสอนแรกของพระพุทธเจ้าเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว ตรงประเด็นว่า ชีวิตไม่เป็นที่พอใจ คาดเดาอะไร ชีวิตของเราจะไม่เป็นที่พอใจตลอดไป 

เราเกิด เราตาย ระหว่างนั้นย่อมมีดีมีร้าย และเวลาที่เราเราคงไม่รู้สึกอะไรมาก วัฏจักรที่ไม่สิ้นสุดนี้คือสิ่งที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า "สังสารวัฏ" เมื่อเราเข้ามาในโลกนี้ ไม่มีใครบอกว่าชีวิตจะดี ง่ายและสนุกไม่หยุด และเราจะได้ของตรงตามที่ต้องการเสมอ  เมื่อเราเข้าใจสถานการณ์ของเราในสังสารวัฏ ก็ทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของคนอื่นได้เช่นกัน

เราทุกคนอยู่ในนี้ด้วยกัน การโกรธกับสถานการณ์ต่างๆ ผู้อื่น หรือตัวเราเอง ก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย คนอื่นพูดและทำสิ่งที่เราอาจไม่ชอบเพราะ ใช่ ชีวิตของพวกเขาก็แย่เช่นกัน

การคิดแบบนี้สามารถเปลี่ยนมุมมองของเราได้อย่างสิ้นเชิง แม้ว่าเราแต่ละคนอาจดูเหมือนเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของเราเอง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะต้อง หรือจะเป็น ไปตามที่เราต้องการ

2.  เป็นวีรบุรุษ: ความอดทน

อารมณ์ที่รบกวนจิตใจจะเอาชนะดีที่สุดได้ด้วยคู่ต่อสู้ ดับไฟด้วยไฟไม่ได้ผล ทำไม เป็นไปไม่ได้ที่จิตใจของเราจะถืออารมณ์สองอารมณ์ที่ตรงกันข้ามไว้ในเวลาเดียวกันได้ คุณไม่สามารถตะโกนใส่ใครซักคนและความอดทนอดกลั้นกับพวกเขาพร้อมๆ กันได้ มันเกิดขึ้นไม่ได้ หลายคนมักมองว่าความอดทนเป็นสัญญาณของความอ่อนแอ ซึ่งคุณยอมให้คนอื่นเอาเปรียบคุณและปล่อยให้พวกเขาทำอะไรที่พวกเขาต้องการ อย่างไรก็ตาม ความจริงก็ต่างกันมาก เมื่อเราคับข้องใจ มันง่ายมากที่จะกรีดร้องและตะโกน และมันยากแค่ไหนที่จะนิ่งสงบและควบคุมอารมณ์ของเรา การทำตามความรู้สึกของเราไม่ได้ทำให้เราเป็นวีรบุรุษแต่อย่างใด แต่ทำให้เราอ่อนแอ ดังนั้น ครั้งต่อไปที่คุณเกือบจะกรีดร้องออกมา ให้ชักดาบแห่งความอดทนและตัดหัวความโกรธของตัวเองออกแทน

แล้วจะทำอย่างไร เราลองหายใจเข้าลึกๆ ก็ได้ ซึ่งเป็นยาถอนพิษโดยตรงต่อการหายใจสั้นๆ เฉียบๆ เมื่อเราโกรธ ถ้าเราสังเกตว่าตัวเองเริ่มเครียด เราค่อยๆนับถึง 100 ได้ เพื่อไม่ให้ตัวเองพูดในสิ่งที่เราจะเสียใจในภายหลัง หรือถ้าเราเผชิญหน้ากันโดยตรง เราอาจต้องการเอาตัวเองออกจากสถานการณ์ก่อนที่ทุกอย่างจะแย่ลงไป แต่ละสถานการณ์แตกต่างกัน ดังนั้นคุณจะต้องใช้สมองเพื่อดูว่าวิธีใดดีที่สุดสำหรับคุณ

3. รับความจริง: วิเคราะห์สถานการณ์

เมื่อเราโกรธ ความโกรธของเราดูเหมือนจะมาถึงในฐานะผู้พิทักษ์บางอย่าง เช่น เพื่อนรักที่คอยดูแลผลประโยชน์ของเรา ช่วยเราในสนามรบ ภาพลวงตานี้ทำให้เราคิดว่าการโกรธเป็นเหตุเป็นผล แต่ถ้าเราดูดีๆ ความโกรธไม่ใช่เพื่อน แต่เป็นศัตรูของเรา

ความโกรธทำให้เราเครียด ปวดร้าว กินไม่ได้นอนไม่หลับ ถ้าเราโกรธใครต่อไปเรื่อยๆ จะสร้างความประทับใจให้คนอื่นได้ยาวนาน มาเผชิญหน้าว่า ใครอยากอยู่รอบ ๆ คนโกรธ

เมื่อเราถูกกล่าวหาบางอย่างและรู้สึกว่าปมป้องกันเริ่มกระชับในท้องของเรา เราควรหยุดคิดอย่างมีเหตุผล มีเพียงสองทางเลือก ข้อกล่าวหานั้นเป็นจริงหรือเป็นเท็จ หากจริงแล้ว ทำไมเราต้องโกรธด้วย ถ้าเราอยากเป็นผู้ใหญ่ เราควรยอมรับ เรียนรู้จากมัน แล้วก้าวไปข้างหน้ากับชีวิต ถ้าหากข้อกล่าวหานั้นไม่จริงแล้ว ทำไมเราต้องโกรธ คนที่กล่าวหาเราทำผิดพลาดไป แล้วเราไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลยหรือในชีวิตนี้  

4. ดูจิตใจของคุณ: สมาธิภาวนา

การเจริญสมาธิและสติสามารถเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการต่อสู้กับความโกรธ หลายคนอาจมองว่าการทำสมาธิเป็นการเสียเวลา ทำไมต้องนั่งบนเบาะ 20 นาที ในเมื่อเราสามารถใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุดได้ จริงไหม คนอื่นคิดว่าการทำสมาธิเป็นการหลีกหนีจากชีวิตจริงที่ดี ซึ่งเราสามารถใช้เวลาอยู่ห่างจากลูกอีเมลสามีภรรยาได้

แต่การทำสมาธิเป็นอะไรที่มากกว่านั้น คือเป็นการเตรียมตัวสำหรับชีวิตจริง ไม่เป็นการดีเลยถ้าเราเจริญความเห็นอกเห็นใจทุกเช้า แต่ทันทีที่เราไปที่ทำงาน เราตะโกนใส่พนักงานและบ่นเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานของเรา 

การทำสมาธิทำให้จิตใจของเราคุ้นเคยกับความคิดเชิงบวก ความอดทน ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ และเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา หากเราใช้เวลาครึ่งชั่วโมงในการเดินทางตอนเช้าไปฟังเพลงโปรด อย่างน้อยที่สุดที่เราทำได้คือใช้เวลา 10 นาทีในการแผ่เมตตาต่อผู้อื่น ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดความโกรธและทำให้เราเป็นคนที่คนอื่นอยากอยู่ใกล้ด้วย

5. น้อมลง: เรียนรู้จากศัตรูของคุณ

พระพุทธศาสนามักสอนให้เรากระทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราทำตามปกติ เมื่อโกรธใครสักคน สิ่งที่อยากทำคือการแก้แค้น ผลลัพธ์คืออะไร เราก็จะยิ่งแย่กว่าเดิม ดูเหมือนขัดกับสัญชาตญาณ แต่การทำตรงกันข้ามให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม คือเส้นทางสู่ความสุข 

ฟังดูบ้าๆ แต่ลองนึกถึงเอาความโกรธเป็นครู หากเราต้องการจะดีขึ้น นั่นคือคนที่มีความอดทนมากขึ้น มีความรักมากขึ้น ใจดีขึ้น มีความสุขขึ้น เราต้องฝึกปฏิบัติ เราทุกคนรู้ดีว่าต้องใช้เวลาและความพยายามในการเป็นนักฟุตบอลหรือนักไวโอลินระดับโลก เหตุใดการฝึกจิตของเราจึงแตกต่างออกไป หากเราถูกรายล้อมไปด้วยคนที่ทำและเห็นด้วยกับทุกสิ่งที่เราต้องการ เราจะไม่เจอความท้าทายใดๆ ได้เลย

ด้วยวิธีนี้ คนที่เราโกรธจะกลายเป็นคนมีค่ามาก ทำให้เรามีโอกาสฝึกปฏิบัติความอดทนอย่างแท้จริง สิ่งนี้ระงับความรู้สึกโกรธในทันที เพราะมันเปลี่ยนมุมมองของเราจากสิ่งที่พวกเขาทำกับเรา เป็นสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อเรา

6. จดจำความตาย: ความไม่เที่ยง 

คุณจะตาย ฉันจะตาย เราทุกคนจะตาย ดังนั้น เมื่อคนๆ นั้นที่เราทนไม่ไหว มาทำอะไรที่รำคาญใจเราจริงๆ ให้หยุดคิดสักพักว่า “เมื่อฉันนอนเสื่อใกล้ตายแล้ว ฉันจะใส่ใจเรื่องไหม” คำตอบ เว้นแต่เราจะรู้ว่าบุคคลนั้นตั้งใจจะยึดครองและทำลายโลกจริงๆ คงจะเป็นเสียงที่ดังก้องว่า “ไม่” ข้อแนะนำเล็กๆน้อยๆนี้เรียบง่าย แต่ช่วยบรรเทาความรำคาญเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตได้มากมาย 

เราทุกคนรู้ว่าเราจะตาย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เรารู้จริงๆ ความตายเป็นแนวคิดที่เป็นนามธรรมที่อยู่ห่างไกลซึ่งเกิดขึ้นกับคนอื่น ทั้งคนชรา คนป่วย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุประหลาด แต่นั่นไม่ใช่ความจริง ในแต่ละวัน มีคนหนุ่มสาวตายก่อนคนแก่ คนสุขภาพอนามัยดีก็ตายก่อนคนเจ็บคนป่วย 

เมื่อเรามุ่งเน้นไปที่ความตายในอนาคตที่แน่นอนของเรา (พรุ่งนี้ ในหนึ่งปี ใน 50 ปี) หลายสิ่งหลายอย่างที่ปกติแล้วทำให้เรากระตุ้นก็จะกลายเป็นไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่ว่าจะไม่รำคาญเราแล้ว แต่เราจะรู้ว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเสียเวลาอันมีค่าของเรา ลมหายใจหรือพลังงานไปกับเรื่องเหล่านั้น 

7. สิ่งที่ไปรอบ ๆ: กรรม

ผู้คนกล่าวว่า “อะไรวนไปวนมา” หรือ “มันเป็นกรรมของเขา เขาสมควรได้รับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา” อันเป็นนัยว่าผู้คนเก็บเกี่ยวสิ่งที่พวกเขาหว่าน นี่ไม่ค่อยใช่ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับกรรม ซึ่งซับซ้อนและละเอียดอ่อนกว่ามาก ถึงกระนั้น ในขณะที่ผู้คนดูค่อนข้างพอใจที่จะชี้ให้เห็นว่าความทุกข์ของผู้อื่นเป็นกรรมของพวกเขา คนส่วนใหญ่มักลังเลที่จะเห็นว่าเมื่อตนอยู่ในสถานการณ์ที่เหนียวแน่น ย่อมเกิดจากกรรมของตนด้วย

ทุกสิ่งที่เราประสบ จากช่วงเวลาที่สนุกสนานอย่างไม่น่าเชื่อลงไปจนถึงความสิ้นหวัง เกิดขึ้นจากสาเหตุ สาเหตุเหล่านี้ไม่เพียงแค่หลุดออกมาบนตักของเราแต่เกิดขึ้นด้วยตัวเราเอง ดังนั้น เมื่อเราประสบสถานการณ์แย่ๆ แทนที่จะปล่อยให้ความโกรธเข้าครอบงำ เราสามารถหยุดและคิดว่า ความยากลำบากเกิดมาจากไหน และฉันต้องการทำให้มันแย่ลงไปอีกหรือ

กรรมมาจากการกระทำ เมื่อเราเข้าใจดีแล้วว่ากรรมทำงานอย่างไร เราก็เปลี่ยนแปลงการกระทำ เพื่ออนาคตที่ดีได้จากการกระทำในปัจจุบันขณะ นั่นก็คือฝึกปฏิบัติความอดทนอดกลั้นเมื่อโกรธ 

8. ไม่ใช่เรื่องจริง: ความว่างเปล่า

ในขณะที่ความอดทนอาจเป็นยาแก้พิษโดยตรง ความว่างเปล่าเป็นยาแก้พิษที่แข็งแกร่งที่สุด ไม่ใช่แค่แก้ความโกรธ แต่สำหรับปัญหาและความยากลำบากทั้งหมดของเรา ที่จริงแล้ว เราจะอดทนแค่ไหนก็ไม่สำคัญ หากเราไม่เข้าใจความว่างหรือสุญญตา ปัญหาก็จะยังตกใส่เราเหมือนมรสุมอินเดีย

หากเราใช้เวลาสักครู่วิเคราะห์จิตใจของเราเมื่อเราโกรธ เราจะสังเกตเห็นบางสิ่ง คือความรู้สึกที่แข็งแกร่งของ “ตัวฉัน” หรือ “ฉัน”  “ฉันโกรธมากที่คุณพูดกับฉันแบบนี้ ฉันไม่อยากเชื่อสิ่งที่เขาทำกับเพื่อนของฉัน ฉันถูกเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเธอผิดแน่นอน”  ฉัน ฉัน ฉัน

เมื่อเราโกรธ ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะวิเคราะห์ “ฉัน” นี้ที่ปรากฏเห็นเป็นรูปธรรม มันไม่มีอยู่จริง เราไม่ได้บอกว่าเราไม่มีอยู่หรือไม่มีอะไรสำคัญ แต่เมื่อเราพยายามหา “ฉัน” นี้ มันอยู่ในใจเราหรือเปล่า ร่างกายของเรา ในทั้งสองหรือ ไม่มีทางที่เราจะพูดได้ว่า “ใช่ มันอยู่ตรงนี้”

เรื่องนี้คนเข้าใจยาก แต่ความจริงก็คือเมื่อเราเริ่มวิเคราะห์ความเป็นจริง มันเปลี่ยนมุมมองของเราอย่างสิ้นเชิง เราจะเห็นว่าไม่มีสิ่งใดที่เราสามารถระบุได้ว่าต้องโกรธตั้งแต่แรก

สรุป 

ไม่สำคัญว่าเราจะพูดซ้ำกี่ครั้งว่า “ฉันจะไม่โกรธ” หากปราศจากความพยายามอย่างแท้จริง เราจะไม่มีวันบรรลุความสงบในใจที่เราทุกคนปรารถนา

ประเด็นข้างต้นไม่ได้เป็นเพียงรายการที่ดี แต่เป็นเครื่องมือจริงที่เราสามารถใช้เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากความหงุดหงิด ความโกรธ และความเศร้า  ด้วยการฝึกปฏิบัติ พวกเราทุกคนสามารถทำได้

Top