การเอาชนะแรงบีบบังคับทางใจ

ในช่องว่างระหว่างความรู้สึกอยากทำหรืออยากพูดอะไรบางอย่างกับการทำสิ่งนั้นออกมาตามแรงบีบบังคับ มีที่ว่างให้ประเมินผลที่ตามมานั้นและเลิกเป็นทาสของนิสัยที่ไม่ดีต่าง ๆ
Meditations conquering compulsiveness

คำอธิบาย

กรรมเป็นเรื่องของการกระทำตามแรงบีบบังคับทางใจของเราล้วน ๆ มันหมายถึงแรงกระตุ้นที่บังคับหรือแรงกระตุ้นทางจิตใจที่ขับเคลื่อนโดยอารมณ์ที่รบกวนจิตใจหรือทัศนคติที่รบกวนจิตใจกระตุ้นเราเหมือนแม่เหล็กให้มีส่วนร่วมในการทำบางอย่าง พูดบางอย่าง หรือคิดอะไรบางอย่าง

การแสดงแรงกระตุ้นที่บีบบังคับเหล่านี้ออกมาอย่างไม่อาจควบคุมได้ก่อให้เกิดแนวโน้มการทำซ้ำทั้งการกระทำทางกาย วาจา หรือทางใจอย่างไม่อาจควบคุมได้ เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น จากภายใน เช่น การเกิดอารมณ์ที่รบกวนจิตใจ หรือจากภายนอก เช่น สถานการณ์ที่เราอยู่ในนั้นหรือคนที่เราอยู่ด้วย แนวโน้มเหล่านี้นำไปสู่ความรู้สึกอยากทำการกระทำนั้นซ้ำ ๆ แล้วจากนั้นตามธรรมดาโดยปราศจากการพิจารณาไตร่ตรองถึงผลของการกระทำนั้น เราก็จะเพียงแค่ทำมันซ้ำ ๆ อย่างไม่อาจควบคุมได้ พฤติกรรมตามแรงบีบบังคับนี้ยังจะส่งผลให้รู้สึกไม่มีความสุขหรือความสุขแบบที่ไม่เคยพอใจ กรรมคือแรงกระตุ้นที่บีบบังคับและการบีบบังคับทางใจที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมดังกล่าว

นี่คือสิ่งที่จะนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจากอารมณ์ที่รบกวนจิตใจผลักดันรูปแบบเหล่านี้:

  • รูปแบบพฤติกรรมที่ถูกบีบบังคับ เช่นความยึดติดที่จะไม่ให้พลาดสิ่งใดไป ดังนั้น เราจึงตรวจสอบข้อความและโพสต์บนเฟซบุ๊กในโทรศัพท์ของเราอย่างไม่อาจควบคุมได้ หรือความไร้เดียงสาและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นแล้วก็ส่งข้อความตอนอยู่ที่โต๊ะอาหารกับพ่อแม่ของเรา หรือความโกรธเป็นสาเหตุที่ทำให้เราบีบแตรและพยายามตัดหน้ารถของคนอื่นอย่างไม่อาจควบคุมได้เมื่ออยู่ในการจราจรที่ติดขัด
  • รูปแบบการพูดที่ถูกบีบบังคับ เช่น ความไม่พอใจที่นำไปสู่การบ่นที่ควบคุมไม่ได้ ความทะนงตนและความเกลียดชังที่นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ที่ควบคุมไม่ได้และการพูดจาก้าวร้าวอย่างคนพาลที่ควบคุมไม่ได้ ความอายและความรู้สึกต่ำต้อยของตนเองนำไปสู่การพูดที่เบามาก
  • รูปแบบความคิดที่ถูกบีบบังคับ เช่น ความไม่มั่นคงปลอดภัยที่นำไปสู่ความกังวลที่ไม่อาจควบคุมได้ ความไร้เดียงสาเกี่ยวกับความเป็นจริง หรือความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงความเป็นจริงอันนำไปสู่การฝันกลางวันที่ไม่อาจควบคุมได้

ตัวอย่างข้างต้นเหล่านี้ล้วนเป็นรูปแบบพฤติกรรมตามแรงบีบบังคับทางใจที่ทำลายตัวเอง ซึ่งนำไปสู่การไม่มีความสุข แต่ก็ยังมีรูปแบบพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ด้วย แม้กระนั้นก็ยังคงเกี่ยวกับโรคประสาท เช่น ลัทธิพอใจแต่สิ่งดีเลิศ การแก้ไขตรรกะของผู้อื่นอย่างควบคุมไม่ได้ คนทำความดีที่ถูกบีบบังคับที่พูดคำว่า “ไม่” ไม่ได้เลย คนบ้างาน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจมีส่วนประกอบของอารมณ์เชิงบวกอยู่เบื้องหลัง เช่น ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำดี แต่เนื่องจากพวกเขามีความหมกมุ่นและการขยายตัวของ "ฉัน" อยู่เบื้องหลัง "ฉัน" ต้องดี "ฉัน" ต้องเป็นที่จำเป็น "ฉัน" ต้องสมบูรณ์แบบ มันอาจทำให้เรามีความสุขชั่วคราว เช่น เมื่อเราทำอะไรได้ดี แต่ความสุขนั้นไม่คงอยู่และนั่นคือปัญหา ตัวอย่างเช่น เรารู้สึกว่าไม่เคยดีพอหรือเรายังคงต้องออกไปทำความดีเพื่อพิสูจน์คุณค่าของเรา

อันดับแรก เราต้องทำใจให้สงบและลดความเร็วลงก่อน จากนั้น เราก็จะรับรู้ได้ถึงความแตกต่างระหว่างเวลาที่เรารู้สึกอยากทำหรือพูดอะไรบางอย่างกับเวลาที่ต้องทำมันโดยถูกบีบบังคับ มีช่องว่างตรงกลางที่เราสามารถประเมินได้ มีอารมณ์ที่รบกวนจิตใจอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ฉันแค่ผลักดันตัวเองให้เป็นในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อย่างไม่อาจควบคุมได้ ใช่หรือไม่ (เช่น สมบูรณ์แบบเสมอ) มีความจำเป็นทางกายภาพที่ต้องทำมันหรือไม่ (เช่น เกาที่คัน) มันจะเป็นประโยชน์หรือเป็นอันตราย? ดังนั้น จึงประเมินด้วยความตระหนักรู้ที่แยกแยะ แล้วจากนั้นก็ควบคุมตนเองไม่ให้แสดงความรู้สึกนี้ออกไปหากเราเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่ดีที่จะแสดงสิ่งที่เรารู้สึกอยากทำหรืออยากพูด แต่เป็นเพียงสาเหตุของโรคประสาทเท่านั้น สิ่งนี้ต้องใช้สติว่าเรากระทำ พูด และคิดอย่างไร แล้วจากนั้นก็ครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งตลอดทั้งวันและควบคุมตนเอง

เป้าหมายคือ การใช้การตระหนักรู้ที่แยกแยะและกระทำโดยไม่เป็นไปตามแรงบีบบังคับทางใจให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยมีอารมณ์เชิงบวกอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของเราและมีความสับสนน้อยที่สุดเกี่ยวกับตัวเราและสิ่งที่เป็นจริง

การทำสมาธิ

  • ทำใจให้สงบโดยมุ่งเน้นความใส่ใจไปที่ลมหายใจ
  • พยายามระบุรูปแบบของการกระทำ คำพูด และความคิดที่ถูกบีบบังคับของคุณ
  • เลือกหนึ่งในนั้นและวิเคราะห์ว่ามีอารมณ์ที่รบกวนจิตใจอยู่เบื้องหลังมันหรือการจับยึดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ไว้หรือไม่ เช่น ไม่เคยทำผิดพลาดเลย
  • พยายามรับรู้ว่าเมื่อคุณแสดงออกอย่างควบคุมไม่ได้ มันจะทำให้เกิดปัญหาบางอย่าง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวคุณเองเท่านั้นหรือคุณทำให้คนอื่นมีปัญหาและความยากลำบากเช่นกัน และนั่นนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ว่าจะเป็นความไม่มีความสุข หรือความสุขประเภทความสุขชั่วคราวที่ไม่พึงพอใจ
  • ตกลงใจว่าคุณจะพยายามใช้การแยกแยะเพื่อที่จะประเมินสิ่งที่คุณรู้สึกอยากพูดและอยากทำ และตามที่ทานศานติเทวะแนะนำไว้ เมื่อมันจะเป็นการทำลายตัวเองหรือเพียงแค่เสริมสร้างอัตตาของคุณ ให้ใช้การควบคุมตนเองและทำตัวเป็นเหมือนไม้ท่อนหนึ่ง
  • ให้สังเกตในขณะที่คุณนั่งทำสมาธิ เมื่อคุณรู้สึกอยากเกาที่คันหรือขยับขาของคุณกับช่วงเวลาระหว่างนั้นกับตอนที่คุณเกาหรือคัน และคุณตัดสินใจได้อย่างไรว่าจะแสดงออกในสิ่งที่คุณรู้สึกอยากทำหรือไม่ ให้ดูว่าคุณสามารถควบคุมตนเองได้และยังคงเป็นเหมือนท่อนไม้ท่อนหนึ่งเมื่อคุณตัดสินใจว่าประโยชน์ของการไม่แสดงออกมานั้นมีมากกว่าประโยชน์ของการแสดงมันออกมา
  • ตั้งใจว่าในแง่ของพฤติกรรมที่ถูกบีบบังคับทางใจในชีวิตประจำวันของคุณ คุณจะพยายามเจริญสติให้มากขึ้นถึงช่องว่างระหว่างตอนที่คุณรู้สึกอยากทำอะไรบางอย่างกับเวลาที่คุณทำมัน และเมื่อประโยชน์ของการไม่แสดงออกมานั้นมีมากกว่าประโยชน์ของการแสดงสิ่งนั้นออกมา คุณก็จะพยายามที่จะยังคงเป็นเหมือนท่อนไม้ท่อนหนึ่ง

สรุป

เราได้เห็นแล้วว่าพฤติกรรมทำลายตัวเองที่ถูกบีบบังคับของเราที่เกิดจากอารมณ์ที่รบกวนจิตใจจะนำไปสู่การไม่มีความสุขและปัญหาต่าง ๆ และแม้ว่าเราจะกระทำการเชิงสร้างสรรค์ในทางบวกอย่างไม่อาจควบคุมได้แต่เมื่อมันถูกผลักดันด้วยความไม่มั่นคงปลอดภัยและความคิดที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับตัวเรา เราอาจมีความสุขในช่วงสั้น ๆ เช่น หลังจากทำงานหนึ่งสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีหรือการทำตัวเป็นประโยชน์ แต่จากนั้น เราก็จะรู้สึกว่าเราต้องพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งอย่างไม่อาจควบคุมได้

เราจำเป็นต้องเงียบลงและจับช่องว่างระหว่างสิ่งที่เรารู้สึกอยากทำ อยากพูด หรืออยากคิดกับสิ่งที่เราทำอย่างไม่อาจควบคุมได้ เราจำเป็นต้องพิจารณาไตร่ตรอง มีสติ และแยกแยะ ดังที่ท่านอติศะได้เขียนไว้ใน มาลัยแก้วของพระโพธิสัตว์ (28):

เมื่ออยู่ท่ามกลางคนจำนวนมาก ขอให้ฉันมีความสำรวมในคำพูดของฉัน เมื่ออยู่คนเดียว ก็ขอให้ฉันมีความสำรวมในจิตใจของฉัน

แต่จงพยายามทำสิ่งนี้โดยไม่เคร่งครัดและเป็นเครื่องจักรกลที่ไม่มีชีวิตจิตใจจนสุดโต่งเพราะเราตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา คุณอาจคัดค้านว่าคุณจะไม่เป็นไปตามธรรมชาติหากคุณทำเช่นนี้ แต่ถ้าการเป็นไปตามธรรมชาติหมายถึงการทำอะไรก็ตามที่เข้ามาในหัวของเราโดยไม่ประเมินถึงประโยชน์หรือความเหมาะสมของสิ่งนั้นแล้ว ฉะนั้นถ้าทารกร้องไห้กลางดึก ถ้าเรารู้สึกไม่อยากตื่นขึ้นมา เราก็จะไม่ทำ หรือถ้าเรารู้สึกอยากจะตีทารกนั้นเพื่อที่จะให้ทารกเงียบลง เราก็แค่ตีเขาเท่านั้น ดังนั้น ในการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมตามแรงบีบบังคับทางใจของเรา ซึ่งเป็นปัญหาของเราอันเกี่ยวกับกรรม เราจำเป็นต้องทำสมาธิเหมือนที่เคยทำซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อที่เราจะได้ไม่เคร่งครัดและเข้มงวดมากเหมือนเป็นตำรวจชายหรือตำรวจหญิงกับตัวเราเอง แต่การเจริญสติถึงสิ่งที่เรารู้สึกอยากทำจะกลายเป็นเรื่องอัตโนมัติและเป็นธรรมชาติ

Top