Study buddhism what is buddhism

พระพุทธศาสนาเป็นชุดของวิธีการที่ช่วยให้เราพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่โดยเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นจริง

ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วในประเทศอินเดียโดย สิทธัตถะโคตม ที่รู้จักกันดีในนามพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาแผ่ไปทั่วเอเชียและปัจจุบันเป็นศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ทั้งชีวิตในการสอนวิธีการตรัสรู้ซึ่งพระองค์ได้บรรลุแล้ว เพื่อผู้อื่นจะได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ด้วยตนเอง พระองค์ทรงเห็นว่าแม้ทุกคนจะมีความสามารถเท่าเทียมกันในการกลายเป็นพระพุทธเจ้า ผู้คนก็มีความชอบ ความสนใจ และความสามารถแตกต่างกันอย่างมาก ด้วยความเคารพในสิ่งนี้ พระองค์ได้สอนวิธีมากมายในการเอาชนะข้อจำกัดของตนเองและบรรลุถึงศักยภาพสูงสุดของตัวเอง

ในแต่ละวัฒนธรรมที่รับเอาพระพุทธศาสนามาเน้นในแง่มุมต่างๆ กัน และแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะมีหลายรูปแบบ แต่ก็ล้วนมีคำสอนพื้นฐานร่วมกัน

หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเบื้องต้น คือ ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ อันเป็นข้อเท็จจริงสี่ประการที่ผู้ที่ได้บรรลุพระธรรมเห็นว่าเป็นความจริง

ความจริงอันประเสริฐข้อแรก คือ ปัญหาที่แท้จริง

ถึงแม้ว่าจะมีความสุขมากมายในชีวิต แต่ทุกสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่แมลงที่เล็กที่สุด ไปจนถึงคนเร่ร่อน ไปจนถึงมหาเศรษฐี ประสบปัญหา ระหว่างการเกิดกับการตาย เราแก่และเจ็บไข้ได้ และคนที่เรารักตายจากไป เราเผชิญกับความความขัดข้องและผิดหวัง ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือเจอในสิ่งที่เราไม่ต้องการ

ความจริงอันประเสริฐข้อสอง คือ เหตุที่แท้จริงของปัญหา

ปัญหาของเราเกิดจากเหตุและเงื่อนไขที่ซับซ้อน แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่าสาเหตุหลักคือความไม่รู้ความจริงของเราเอง นั่นคือวิธีที่จิตใจของเราฉายภาพวิถีการดำรงอยู่ที่เป็นไปไม่ได้ให้กับตัวเองและทุกคนและทุกสิ่งทุกอย่าง

ความจริงอันประเสริฐข้อสาม คือ การยุติที่แท้จริงของปัญหา

พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าสามารถขจัดปัญหาทั้งหมดของเราได้เพื่อไม่ให้เราต้องประสบกับปัญหานั้นอีก โดยการทำลายสาเหตุของปัญหา คือความไม่รู้ของเราเอง

ความจริงอันประเสริฐข้อสี่ คือ เส้นทางที่แท้จริงของจิตใจ

ปัญหาจะหมดไปเมื่อเราขจัดความไม่รู้ โดยการเข้าใจความเป็นจริงอย่างถูกต้อง เราทำสิ่งนี้โดยตระหนักว่าทุกคนเชื่อมโยงกันและพึ่งพาซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานนี้เราพัฒนาความรักและความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อเราขจัดความสับสนเกี่ยวกับวิถีการดำรงอยู่ของเราและผู้อื่นแล้ว เราก็สามารถกระทำการที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้

ขอบเขตคำสอนของพระพุทธเจ้า

องค์ดาไลลามะทรงเห็นความแตกแยกกันสามอย่างในพระพุทธศาสนา คือ

  • วิทยาศาสตร์ทางจิตในพระพุทธศาสนา การรับรู้ ความคิด และอารมณ์ทำงานอย่างไร จากมุมมองของประสบการณ์ส่วนตัว
  • ปรัชญาในพระพุทธศาสนา จริยศาสตร์และตรรกศาสตร์ และความเข้าใจในความจริงของพระพุทธศาสนา
  • พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนา ความเชื่อในชีวิตอดีตและอนาคต กรรม พิธีกรรม และการภาวนา

วิทยาศาสตร์ในพระพุทธศาสนาเสริมประสาทวิทยาสมัยใหม่โดยจัดทำแผนที่ที่ครอบคลุมของการทำงานขององค์ความรู้ต่างๆของจิตใจ ได้แก่ การรับรู้ทางอายตนะ สมาธิ สมาธิ สติและความจำ และอารมณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบของเรา ด้วยการสร้างเส้นทางประสาทเชิงบวก เราสามารถพัฒนาความสามารถที่เป็นประโยชน์ของจิตใจได้

ความคิดทางพระพุทธศาสนาอาศัยการสืบสวนมากกว่าความเชื่อ ดังนั้นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นประโยชน์มากต่อการคิดทางพระพุทธศาสนา - องค์ดาไลลามะที่14

ในระดับกายภาพ วิทยาศาสตร์ทางพระพุทธศาสนายังครอบคลุมระบบการแพทย์ที่ซับซ้อนซึ่งรวมถึงการรักษาโรคต่างๆมากมายด้วย ภายนอกจะนำเสนอการวิเคราะห์โดยละเอียดของสสารและพลังงาน โดยมีความคล้ายคลึงกันหลายประการกับฟิสิกส์ควอนตัม ยังกล่าวถึงการกำเนิด ชีวิต และการจบสิ้นของจักรวาล โดยยืนยันกระแสของจักรวาลก่อนปัจจุบันที่ไม่มีจุดเริ่มต้น

ปรัชญาในพระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ เช่น การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ความเป็นตามสัดส่วน และความเป็นเหตุเป็นผล นำเสนอระบบตรรกะโดยละเอียดตามทฤษฎีเซตและการโต้วาที ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจการฉายภาพที่ผิดพลาดของจิตใจเรา จริยธรรมทางพุทธศาสนามีพื้นฐานอยู่บนการเลือกปฏิบัติระหว่างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสิ่งที่เป็นโทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

จริยธรรมทางพระพุทธศาสนามีพื้นฐานอยู่บนการแยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ไม่ว่าเราจะเป็นผู้เชื่อหรือถือลัทธิอไญยนิยม ไม่ว่าเราจะเชื่อในพระเจ้าหรือเรื่องกรรม ทุกคนก็สามารถดำเนินตามหลักจริยธรรมได้ - องค์ดาไลลามะที่14

แสดงถึงความซาบซึ้งและพัฒนาค่านิยมพื้นฐานของมนุษย์ในด้านความเมตตา ความซื่อสัตย์ ความเอื้ออาทร และความอดทน ในขณะที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะไม่ทำร้ายผู้อื่น

พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนากล่าวถึงเรื่องต่างๆ เช่น กรรม ชาติก่อนและชาติหน้า กลไกการเกิดใหม่ การหลุดพ้นจากการเกิดใหม่ และการตรัสรู้ รวมถึงการปฏิบัติเช่นการสวดมนต์การทำสมาธิและคำภาวนา ไม่มีหนังสือศักดิ์สิทธิ์เล่มเดียวในพระพุทธศาสนาเช่น "พระคัมภีร์ไบเบิลทางพระพุทธศาสนา" เนื่องจากแต่ละสายมีตำราของตนเองตามคำสอนดั้งเดิม ตำราจำนวนมากจากสายทิเบตสามารถพบได้ในส่วน Original Texts (ตำราดั้งเดิม) ของเรา

ผู้คนสามารถเล่าคำภาวนาได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้ว่าหลายคนเลือกที่จะทำที่วัดหรือที่บูชาสถานในบ้านของพวกเขา เป้าหมายของการเล่าคำภาวนาไม่ใช่การได้รับความปรารถนา แต่เพื่อปลุกความแข็งแกร่ง ปัญญา และความเห็นอกเห็นใจในตัวเรา

ไม่มีกฎเกณฑ์ว่าด้วยอาหาร แต่อาจารย์ส่วนใหญ่ทรงแนะให้ให้ลูกศิษย์ทานอาหารมังสวิรัติให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ และพระพุทธเจ้ายังสั่งสาวกของพระองค์ไม่ให้ดื่มสุราหรือเสพยา การอฝึกบรมทางพระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสติและวินัยในตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปเราจะสูญเสียเมื่อเราเมาสุราหรือเมายา

พระพุทธศาสนามีนักบวชทั้งผู้ชายและผู้หญิงซึ่งถือพระวินัยนับหลาร้อยข้อ รวมถึงการดำเนินชีวิตพรหมจรรย์  ท่านเหล่านี้โกนศรีษะ นุ่งห่มจีวร และอาศัยอยู่ในชุมชนสงฆ์ที่อุทิศชีวิตเพื่อการศึกษา การทำสมาธิ สวดมนต์ และพิธีกรรมสำหรับชุมชนฆราวาส ทุกวันนี้ฆราวาสจำนวนมากศึกษาพระพุทธศาสนาและฝึกสมาธิในศูนย์ปฏิบัติธรรม

พระพุทธศาสนาเปิดรับทุกคน

มนุษย์เช่นเดียวกับเรา พระพุทธเจ้าทรงเห็นความเป็นจริงว่าเราดำรงอยู่ได้อย่างไร ทรงเอาชนะความบกพร่องทั้งหมดของพระองค์ และทรงบรรลุถึงศักยภาพสูงสุดของพระองค์ ซึ่งในพระพุทธศาสนาเราเรียกว่า “การตรัสรู้” พระพุทธเจ้าไม่สามารถเพียงแค่โบกมือและทำให้ปัญหาทั้งหมดของเราหมดไป แต่พระองค์ทรงแสดงให้เราเห็นถึงเส้นทางที่เราสามารถเดินไปได้เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากปัญหาชีวิตและพัฒนาคุณสมบัติที่ดีในจิตใจของเรา คือความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้ออาทร ปัญญา และอื่นๆ อีกมากมาย

คำสอนเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้เปิดกว้างสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังทางวัฒนธรรมหรือศาสนา พระพุทธศาสนาไม่ได้เกี่ยวข้องกับศรัทธาในพระเจ้าหรือเทพเจ้า แต่ขอให้เราตรวจสอบคำสอนราวกับว่าเรากำลังซื้อของล้ำค่าจริงๆ ด้วยวิธีนี้ เราจึงรู้สึกซาบซึ้งในแก่นแท้ของคำสอนของพระพุทธเจ้า – จริยธรรม ความเห็นอกเห็นใจ และปัญญา – ซึ่งเราละเว้นโดยธรรมชาติจากการกระทำที่เป็นอันตรายและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในทางบวกที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น สิ่งนี้สามารถนำไปสู่สิ่งที่เราทุกคนปรารถนาอย่างเท่าเทียมกัน: ความสุขและความเป็นอยู่ที่ดี

Top