Study buddhism aryadeva 400

อารยเทวะ

พระอารยเทวะ ('Phags-pa'i lha) ถือกำเนิดในประเทศศรีลังกา ในครอบครัวเชื้อพระวงค์ ในระหว่างช่วงกลางศตวรรษที่สองถึงศตวรรษที่สามของสากลศักราช ตามตำนานเรื่องราวกล่าวว่าท่านกำเนิดจากดอกบัว เมื่อวัยหนุ่มท่านได้ออกบวชและศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฏกอย่างทั่วถึง ก่อนจะเดินทางไปศึกษากับพระนาคารชุนะที่เเคว้นอินเดียใต้ในราชอาณาจักรสาตะวาหนะอันอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอุทายิภัทร พระเจ้าอุทายิภัทรเป็นผู้น้อมรับคำสอนของพระนาคารชุนะชื่อ จดหมายถึงเพื่อน (Letter to a Friend) และ มาลัยลํ้าค่า (The Precious Garland) พระอารยเทวะเดินทางพร้อมกับพระนาคารชุนะและได้ศึกษาต่อกับท่านที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ศรีปาร์วต (Shri Parvata) ซึ่งมองลงไปเห็นหุบเขานาคารชุนโกณฑะ (Nagarjunakonda Valley) ในปัจจุบันอยู่ในรัฐอานธรประเทศ ภายในอาณาจักรสาตะวาหนะ

ในช่วงเวลานั้นมาตร์เฉตะ (Matrcheta) ผู้นับถือพระศิวะ ได้เอาชนะทุกคนที่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาลันทาในการโต้วาที พระอารยเทวะได้เดินทางเพื่อรับการท้าทายนั้น ในระหว่างการเดินทางท่านได้พบกับหญิงชราที่พยายามสำเร็จในฤทธิ์ และต้องรับดวงตาของภิกษุที่มีความรู้สูงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ขับเคลื่อนด้วยความเห็นอกเห็นใจ ท่านมอบดวงตาางหนึ่งของท่านแก่หญิงชรานั้น เมื่อหญิงชรานั้นได้ดวงตาแล้ว กลับใช้ก้อนหินทุบดวงตาของท่านเสียด้วย นี่จึงเป็นที่มาว่าท่านมีดวงตาเพียงข้างเดียว พระอารยเทวะชัยชนะมาตร์เฉตะในการโต้วาทีและในการต่อสู้ด้วยฤทธิ์ฤทธิ์ มาตร์เฉตะจงมอบตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านตั้งแต่นั้นมา

พระอารยเทวะได้พำนักอยู่ที่นาลันทาเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังของชีวิตท่านได้กลับไปหาพระนาคารชุนะ ซึ่งได้มอบหมายคำสั่งสอนทั้งหมดให้แก่ท่านก่อนที่จะมรณภาพ พระอารยเทวะได้สร้างวัดวาอารามขึ้นมากมายในพื้นที่ของอินเดียใต้นั้น และได้สั่งสอนอย่างแพร่หลาย ก่อตั้งสายมหายาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการของนิกายมัธยามกะ โดยตำราที่ท่านได้แต่ง คือ กวีนิพนธ์สี่ร้อยบทอันว่าด้วยเรื่องการกระทำของโยคะแห่งพระโพธิสัตย์ (Four Hundred Verse Treatise on the Actions of a Bodhisattva’s Yoga ทิเบต Byang-chub sems-dpa’i rnal-‘byor spyod-pa bzhi-brgya-pa’i bstan-bcos kyi tshig-le’ur byas-pa สันสกฤต Bodhisattvayogacarya-catuhshataka-shastra-karika) เป็นที่รู้จักกันในหัวเรื่องสั้น ๆ สี่ร้อย หรือ กวีนิพนธ์สี่ร้อยบท เช่นเดียวกับพระนาคารชุนะ พระอารยเทวะได้เขียนคำบรรยายเกี่ยวกับ พระคุห์ยะสมชตันตระ (Guhyasamaja Tantra)

Image source: himalayanart.org

Top