คำเกริ่นนำ
นิกายในพระพุทธศาสนาทั้งหมดเน้นความสำคัญของครูทางศาสนาบนเส้นทางนี้ ครูทางศาสนาไม่เพียงแต่
- ให้ข้อมูล
- ตอบคำถาม
- ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
- ตรวจสอบพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ และการทำสมาธิไตร่ตรองของนักเรียน
แต่ครูทางศาสนายัง
- ให้คำปฏิญาณและเสริมอำนาจ
- ทำหน้าที่เป็นแบบอย่าง
- ให้แรงบันดาลใจผ่านตัวอย่างส่วนตัวของตน
- เชื่อมโยงประเพณีที่ย้อนรอยกลับไปสู่พระพุทธเจ้า
มีครูและนักเรียนหลายระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงต้องมีวิธีการเชื่อมโยงที่แตกต่างกันไปตามเส้นทางนี้
บริบททางวัฒนธรรม
สถานการณ์ทางตะวันตกสมัยใหม่ในการเรียนกับครูทางศาสนานั้นแตกต่างจากของทางเอเชียดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง
ในเอเชียดั้งเดิมนั้น นักเรียนธรรมะส่วนใหญ่
- เป็นพระหรือแม่ชีที่มีความมุ่งมั่นแบบเต็มเวลาในเส้นทางศาสนานี้
- ไม่มีกิจกรรมหลักนอกจากการศึกษาและการปฏิบัติธรรม
- เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาจากฐานะของเด็กที่ไม่มีการศึกษา
- ดังนั้น ในฐานะของผู้ใหญ่ จึงมีการศึกษาเพียงเล็กน้อยในวิชา “ฆราวาส” เช่น คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์
- ยอมรับค่านิยมของสังคมเอเชียดั้งเดิมเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงและมุมมองของโครงสร้างอำนาจ นั่นคือ ผู้หญิงนั้นด้อยกว่าและมีลำดับชั้นเป็นบรรทัดฐาน
ในตะวันตกยุคใหม่ นักเรียนส่วนใหญ่
- เป็นฆราวาส ยุ่งอยู่กับการงานอาชีพและชีวิตส่วนตัว
- มีเวลาให้กับธรรมะเล็กน้อย
- เริ่มศึกษาธรรมะในฐานะของผู้ใหญ่ที่มีการศึกษา
- เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศและโครงสร้างทางสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
ทางด้านการเงิน เอเชียแบบดั้งเดิมนั้นให้การสนับสนุนทางสังคมแก่ครูทางศาสนา แม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่นักเรียนของตนก็นำสิ่งบูชามาถวาย ในโลกตะวันตกสมัยใหม่ ครูทางศาสนาต้องช่วยเหลือตนเอง ศูนย์ปฏิบัติธรรมหลายแห่งดำเนินงานด้วยความกังวลเรื่องการเงิน องค์กร และการบริหาร
ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู ผู้แสวงหาทางศาสนาหลายคนได้รับประโยชน์ แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดมากมาย ข้อผิดพลาดมากมาย และทำความเสียหายต่อศาสนา
อันตราย
ในกรณีของพระพุทธศาสนาแบบทิเบต อันตรายต่าง ๆ เลวร้ายขึ้นจากข้อความในคัมภีร์หรือตำราเกี่ยวกับ “การอุทิศตนให้คุรุ” ผู้ชมผู้ฟังข้อความดังกล่าวคือพระสงฆ์และแม่ชีที่รับศีลหรือข้อปฏิบัติ จำเป็นต้องมีการทบทวนตรวจสอบเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสริมพลังตันตระ คำแนะนำนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับผู้เริ่มต้นที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เราต้องหลีกเลี่ยงความสุดโต่ง 2 ประการคือ
- การนับถือครูทางศาสนาเหมือนเป็นพระเจ้า เปิดประตูสู่ความไร้เดียงสาและการล่วงละเมิด
- การทำให้พวกเขาเป็นเหมือนปีศาจ เปิดประตูสู่ความหวาดระแวงและปิดประตูนั้นเพื่อรับแรงบันดาลใจที่แท้จริงและประโยชน์อันลึกซึ้ง
แผนการวิเคราะห์ที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม
ผมได้วิเคราะห์ประเด็นนี้และแนะนำวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีไว้ในหนังสือ Relating to a Spiritual Teacher: Building a Healthy Relationship (สัมพันธภาพกับครูทางศาสนา: การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี) (Ithaca: Snow Lion, 2000) ในที่นี้ ผมต้องการนำเสนอแผนการวิเคราะห์ประเด็นที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิมเพิ่มเติม ซึ่งได้รับการแนะนำและขยายความจากงานของจิตแพทย์ชาวฮังการี ดร. อีวาน บอสโซเมนยี-นากี (Dr. Ivan Boszormenyi-Nagy) หนึ่งในผู้สร้างครอบครัวบำบัดและการบำบัดตามบริบท
มิติของความสัมพันธ์ทั้ง 6 มิติ
เราสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของทั้งฝ่ายนักเรียนและฝ่ายครูได้ในแง่ของ 6 ปัจจัยหรือ 6 มิติ ถ้ามีปัญหาต่าง ๆ ในความสัมพันธ์เกิดขึ้น สิ่งนี้อาจช่วยระบุได้ว่าปัญหาเหล่านั้นอยู่ตรงไหน เพื่อให้แต่ละฝ่ายพยายามปรับเปลี่ยนและปรับตัวเพื่อสร้างสมดุลของความสัมพันธ์นั้นให้ดีขึ้น
ปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัย ได้แก่
- ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแต่ละฝ่ายและสภาพของความสัมพันธ์นั้น
- จุดมุ่งหมายของความสัมพันธ์ของแต่ละฝ่ายและปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์นั้น
- บทบาทที่แต่ละฝ่ายกำหนดให้ตนเองและอีกฝ่ายหนึ่งมีบทบาทในความสัมพันธ์นั้น แล้วถัดมาก็ความคาดหวังที่แต่ละฝ่ายมีและความรู้สึกที่แต่ละฝ่ายมีเกี่ยวกับตนเอง
- ระดับความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมในความสัมพันธ์นั้นของแต่ละฝ่ายและปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งนี้
- ปัจจัยทางจิตวิทยาอื่น ๆ ของแต่ละฝ่าย
- วิธีการทำงานของความสัมพันธ์นั้นและมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อแต่ละฝ่าย
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแต่ละฝ่ายและสภาพของความสัมพันธ์นั้น
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแต่ละฝ่ายที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์นั้น ได้แก่
- เพศและอายุ
- วัฒนธรรมต้นกำเนิด – เอเชียหรือตะวันตก
- ภาษาที่ใช้ร่วมกันหรือต้องการนักแปล – เพื่อการสื่อสารส่วนบุคคลและ/หรือคำสอน
- พระสงฆ์หรือฆราวาส
- การศึกษาทางธรรมและทางโลกมีมากน้อยแค่ไหน
- คุณสมบัติการเป็นครูหรือนักเรียนทางศาสนาในแง่ของวุฒิภาวะทางอารมณ์และจริยธรรม
- ระยะเวลาที่แต่ละคนมีให้กัน
- จำนวนนักเรียนคนอื่น ๆ
- ครูเป็นครูประจำหรือมาเยี่ยมเป็นครั้งคราวเท่านั้น
สภาพของความสัมพันธ์นั้นอาจอยู่ใน
- ศูนย์ปฏิบัติธรรมแบบตะวันตก – ใจกลางเมืองหรือศูนย์ที่พักอาศัย
- ถ้าเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมอิสระหรือเป็นองค์กรปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่
- อารามหรือวัด – ในเอเชียหรือในตะวันตก
จุดมุ่งหมายของความสัมพันธ์ของแต่ละฝ่ายและปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์นั้น
สำหรับทั้งสองฝ่ายในความสัมพันธ์ใด ๆ ก็ตาม จุดมุ่งหมายของความสัมพันธ์นั้นก็มักจะผสมกันเสมอ ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน
นักเรียนอาจมาหาครูทางศาสนาเพื่อ
- รับข้อมูลและเรียนรู้ข้อเท็จจริง
- เรียนรู้การทำสมาธิไตร่ตรอง
- ฝึกพัฒนาบุคลิกภาพของตน
- ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตนี้
- ปรับปรุงชีวิตในชาติหน้า
- หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ)
- บรรลุการตรัสรู้เพื่อช่วยให้ผู้อื่นหลุดพ้นและการตรัสรู้ที่คล้ายคลึงกัน
- เรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย
- สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมกับนักเรียนที่มีความคิดเหมือนกัน
- เข้าถึงสิ่งแปลกใหม่
- ค้นหาวิธีการรักษาปัญหาทางร่างกายหรือทางอารมณ์บางอย่างที่ประหลาดมหัศจรรย์
- ได้รับ “การแก้ด้วยธรรมะ (Dharma-fix) ” จากครูที่มีเสน่ห์ให้ความบันเทิงแบบ “คนติดธรรมะ (Dharma-junkie)”
นอกจากนี้ นักเรียนยังอาจมองหาครูทางศาสนาเพื่อ
- คำแนะนำและแรงบันดาลใจตามแนวทางของชาวพุทธ
- การบำบัด
- คำแนะนำการดูแลชีวิตแบบเรียบง่าย
- ตัวแทนของผู้ปกครอง
- การยอมรับ
- ให้มีคนคอยบอกตนว่าต้องทำอะไรในชีวิต
ในทางกลับกัน ครูทางศาสนาอาจต้องการ
- ให้ข้อเท็จจริง
- บอกต่อเรื่องราวแบบปากเปล่าและรักษาพระธรรม
- ฝึกฝนพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน
- ปลูกเมล็ดพันธุ์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของนักเรียนในชาติหน้า
- ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงการเกิดใหม่ การหลุดพ้น และการตรัสรู้ได้ดีขึ้น
- สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมหรือศูนย์แห่งอาณาจักรธรรม
- รับคนที่เปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือศาสนาเข้าสู่สายการปฏิบัติของตน
- ระดมเงินเพื่อสนับสนุนวัดวาอารามในอินเดียหรือสร้างวัดวาอารามใหม่ในทิเบต
- ค้นหาฐานที่มั่นในฐานะผู้ลี้ภัย
- หาเลี้ยงชีพหรือร่ำรวย
- มีอำนาจจากการควบคุมผู้อื่น
- ได้รับการตอบรับหรือผลประโยชน์ทางเพศ
ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงลบที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสองฝ่าย ได้แก่
- ความเหงา
- ความเบื่อหน่าย
- ความทุกข์
- ความไม่มั่นคงปลอดภัย
- ความต้องการที่จะเป็นที่นิยม
- ความกดดันจากกลุ่ม
บทบาทที่แต่ละฝ่ายกำหนดให้ตนเองและอีกฝ่ายหนึ่งมีบทบาทในความสัมพันธ์นั้น แล้วถัดมาก็ความคาดหวังที่แต่ละฝ่ายมีและความรู้สึกที่แต่ละฝ่ายมีเกี่ยวกับตนเอง
ครูทางศาสนาอาจถือว่าตนเอง หรือนักเรียนก็อาจถือว่าครูเป็น
- ศาสตราจารย์สอนพระพุทธศาสนา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
- ผู้สอนธรรมะ ซึ่งชี้แนะวิธีการนำธรรมะไปใช้ในการดำเนินชีวิต
- ผู้ฝึกอบรมการทำสมาธิหรือพิธีกรรม
- ที่ปรึกษาทางศาสนา ให้ข้อปฏิบัติ
- ปรมาจารย์ผู้ปฏิบัติแบบตันตระ ให้อำนาจของการปฏิบัติแบบตันตระ
นักเรียนอาจถือว่าตนเอง หรือครูทางศาสนาก็อาจถือว่านักเรียนเป็น
- นักเรียนพระพุทธศาสนา หาข้อมูล
- นักเรียนธรรมะ เรียนรู้วิธีการนำธรรมะไปใช้ในชีวิต
- ผู้รับการฝึกสมาธิหรือพิธีกรรม
- ศิษย์ที่รับข้อปฏิบัติกับครูเพียงเท่านั้น
- ศิษย์ที่ได้รับการแนะนำเป็นการส่วนตัวจากครู
อีกแง่มุมหนึ่งของมิตินี้ก็คือ ความรู้สึกของแต่ละฝ่ายที่มีต่อตนเองเนื่องจากความสัมพันธ์นั้น
นักเรียนอาจรู้สึกว่าตน
- ได้รับการปกป้อง
- เป็นของใครบางคน
- สมบูรณ์
- สมหวัง
- เป็นคนรับใช้
- สมาชิกของลัทธิหนึ่ง
ครูทางศาสนาอาจรู้สึกว่าตนเป็น
- ปรมาจารย์
- ผู้ปฏิบัติที่อ่อนน้อมถ่อมตน
- ผู้ช่วยชีวิต
- พระหรือบาทหลวง
- นักจิตวิทยา
- ผู้บริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมหรืออาณาจักรปฏิบัติธรรม
- ผู้สนับสนุนการเงินของวัดวาอาราม
ระดับความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมในความสัมพันธ์นั้นของแต่ละฝ่ายและปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งนี้
นักเรียนอาจจะ
- จ่ายค่าธรรมเนียมเริ่มต้น โดยให้เงินบริจาคดานา (dana) หรือเรียนหนังสือโดยไม่จ่ายหรือเสนออะไรให้ครู
- เกี่ยวข้องเป็นบางครั้งบางคราวหรือมีความมุ่งมั่นอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธศาสนา ครูและ/หรือสายการปฏิบัติ
- ตั้งใจรับข้อปฏิบัติกับครูหรือไม่
- รับผิดชอบช่วยเหลือครู
- รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ
- รู้สึกเป็นภาระผูกพัน
- ความรู้สึกว่าตนต้องจงรักภักดี – บทบาทของความกดดันจากกลุ่มในเรื่องนี้มีความสำคัญมาก
- รู้สึกว่าตนจะตกนรกถ้าตนทำอะไรผิด
ครูทางศาสนาอาจจะ
- รับผิดชอบในการแนะนำนักเรียนในทางจริยธรรม
- ปรารถนาที่จะกำหนดการดำเนินชีวิตของนักเรียนและบอกพวกเขาว่าต้องทำอย่างไร
- ทำหน้าที่ของตนเพราะครูของตนได้ส่งตนมาสอน
- มองว่าตนเองก็แค่ทำงานเท่านั้นเอง
ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงลบที่ส่งผลกระทบต่อมิตินี้ได้แก่
- กลัวความตั้งใจมุ่งมั่น
- กลัวอำนาจหน้าที่ อาจเป็นเพราะมีภูมิหลังของการล่วงละเมิด
- ความต้องการที่จะเป็นประโยชน์หรือได้รับความรัก
- ต้องการความสนใจ
- ต้องการที่จะควบคุมผู้อื่น
- ความต้องการพิสูจน์ตัวเอง
ปัจจัยทางจิตวิทยาอื่น ๆ ของแต่ละฝ่าย
สิ่งเหล่านี้รวมถึงว่าทั้งสองฝ่ายนั้นเป็น
- คนเปิดเผยหรือคนเก็บตัว
- คนรอบรู้หรือมีปัญญา ถืออารมณ์เป็นใหญ่ หรือเป็นผู้อุทิศตนทางศาสนา
- คนที่อบอุ่นเป็นมิตรหรือเย็นชาเฉยเมย
- คนใจเย็นหรืออารมณ์ร้าย
- คนที่โลภเรื่องของเวลาและความสนใจ
- คนที่อิจฉานักเรียนคนอื่นหรือครูคนอื่น
- เต็มไปด้วยความนับถือตนเองต่ำหรือความเย่อหยิ่งจองหอง
วิธีการทำงานของความสัมพันธ์นั้นและมันส่งผลกระทบอย่างไรต่อแต่ละฝ่าย
ทั้งนักเรียนและครูร่วมกันสร้าง
- ทีมที่ดีหรือไม่ดี
- ทีมที่ทั้งสองต่างดึงเอาความสามารถที่ดีที่สุดของกันและกันออกมาหรือขัดขวางความสามารถของกันและกัน
- ทีมที่ต่างทำให้เสียเวลาของกันและกันเพราะความคาดหวังที่แตกต่างกัน
- ทีมที่รักษาโครงสร้างแบบลำดับชั้นไว้และนักเรียนรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ ถูกควบคุม แล้วก็ทำให้รู้สึกด้อยกว่า (ตอกย้ำความเคารพนับถือตนเองต่ำ) และครูก็รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มีอำนาจและเหนือกว่า – สังเกตว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกอย่างไร อาจไม่ตรงกับที่อีกฝ่ายรู้สึกก็ได้
- ทีมที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายรู้สึกมีแรงบันดาลใจหรือเหนื่อยล้า
สรุป
เราจำเป็นที่จะต้องประเมินความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนในแง่ของ 6 มิติ และแต่ละปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของมิติเหล่านั้นด้วย ถ้าปัจจัยไม่ตรงกัน ทั้งสองฝ่ายก็จำเป็นต้องพยายามประสานและปรับเปลี่ยนหรือปรับตัว ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่รับฟังหรือไม่ยอมรับวิธีการแก้ปัญหานี้ได้ เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือปัจจัยทางอารมณ์แล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวหรือรักษาระยะห่างจากความสัมพันธ์นั้น