การเรียนรู้ SEE: โปรแกรมฝึกอบรมด้านค่านิยมสากล

โครงสร้างโดยสังเขปของการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์ และจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอมอรี่

การเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์ และจริยธรรมคืออะไร?

การเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์ และจริยธรรม (SEE) เป็นโปรแกรมสำหรับการเลี้ยงดูบุคคล กลุ่มสังคม และชุมชนรอบกว้างที่มีสุขภาวะทางอารมณ์และมีความรับผิดชอบทางจริยธรรม  โปรแกรมนี้สร้างขึ้นสำหรับการใช้ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาขั้นสูงเป็นหลัก แต่ก็เหมาะสำหรับการใช้ในบริบทอื่นเช่นกัน

โปรแกรมฝึกอบรมนี้พัฒนาขึ้นโดยศูนย์อนุปัสสนาวิทยาและจริยธรรมบนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ (Center for Contemplative Science and Compassion-Based Ethics) ที่มหาวิทยาลัยเอมอรี่ (Emory University) ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นครอบคลุมในเรื่องจริยธรรม  คำว่าจริยธรรมตรงนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมหรือศาสนาใด  หากแต่อยู่บนรากฐานของค่านิยมพื้นฐานสากลของมนุษย์ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความอดทนอดกลั้น และการให้อภัย  แนวทางปฏิบัติของการเรียนรู้ SEE ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติมีความสามารถในการเอาใจใส่ตัวเองและผู้อื่นด้วยความชำนาญมากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพทั้งทางกายและอารมณ์  นอกจากนี้โปรแกรมยังมุ่งเน้นการเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพึ่งพากันและกันและการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้ฝึกเป็นประชากรในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

โปรแกรมนี้ตั้งอยู่บน “ค่านิยมสากล” จึงสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายประเทศและวัฒนธรรมในโลก  จากรากฐานเรื่องสามัญสำนึก ประสบการณ์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป เราสามารถใช้ประเภทและหลักปฏิบัติต่าง ๆ ตามรูปแบบที่นำเสนอ หรือนำไปประยุกต์ใช้โดยผสมผสานกับแรงบันดาลใจจากค่านิยมทางศาสนาและวัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละพื้นที่ก็ได้  เป้าหมายของโปรแกรมที่แบบรวมและครอบคลุมนี้คือการสอนสมรรถนะทางสังคม อารมณ์ และจริยธรรมให้กับผู้คนทุกช่วงอายุ  ในลักษณะนี้ โปรแกรมนี้ก็ไม่ต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ หรือวิชาทางวิชาการอื่น ๆ  การศึกษาสามารถ และควรเป็นอย่างยิ่งที่จะขยายให้ครอบคลุมการปลูกฝังค่านิยมและสมรรถนะที่นำไปสู่ความสุขและความสามัคคีที่ดีขึ้นสำหรับรายบุคคลและสังคมโดยรวม

สามมิติ สามขอบเขต

มิติทั้งสามของการเรียนรู้ SEE ครอบคลุมสมรรถนะประเภทต่างๆที่โปรแกรมต้องการปลูกฝัง

  • ความตระหนักรู้
  • ความเห็นอกเห็นใจ
  • การมีปฏิสัมพันธ์

นอกจากนี้มิติทั้งสามเหล่านี้ยังครอบคลุมอีกสามขอบเขตที่ต่างกันดังนี้

  • ขอบเขตบุคคล
  • ขอบเขตสังคม
  • ขอบเขตทั่วโลก

มิติทั้งสาม

ความตระหนักรู้ - พัฒนาความเข้าใจเรื่องความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของเรา  ความตระหนักรู้ช่วยให้เรารับรู้ถึงชีวิตภายในของเรา การมีอยู่และความต้องการของผู้อื่น และการพึ่งพากันและกัน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของชีวิตเราและโลกที่เราดำรงอยู่  การปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการปฏิบัติและการปรับแต่งความใส่ใจ

ความเห็นอกเห็นใจ – ฝึกวิธีการสัมพันธ์กับตัวเอง ผู้อื่น และมนุษยชาติทั้งหมดด้วยความน้ำใจ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และการเอาใจใส่ความสุขและทุกข์ของพวกเขา  สมรรถนะประเภทนี้ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการของบุคคล และ ความสามารถในการมองเห็นว่าอะไรจะนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวของตัวเอง  ดังนั้นความกว้างของส่วนนี้จะขยายออกไปเพื่อครอบคลุมความจำเป็นของผู้อื่นและในที่สุดจะรับรู้ถึงความจำเป็นร่วมกันของมนุษยชาติทั้งหมด

การมีปฏิสัมพันธ์ - นำวิธีการที่ได้จากการฝึกความตระหนักรู้และความเห็นอกเห็นใจไปปฏิบัติใช้  ส่วนนี้รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของพฤติกรรมและทัศนคติที่เอื้อต่อการเป็นอยู่ที่ดีส่วนบุคคล ในสังคม และในชุมชน  ขั้นนี้ต้องอาศัยการกำกับตนเอง ทักษะทางสังคม และการกระทำเชิงปฏิสัมพันธ์ในฐานะประชากรโลก

การพัฒนามิติทั้งสามด้านในฐานะค่านิยมพื้นฐานไม่ได้เกี่ยวกับการหาความรู้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการตระหนักถึงความสัมพันธ์ของค่านิยมดังกล่าวในระดับส่วนบุคคลและซึมซับสิ่งเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งมีหลายขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นแรกเราเรียนโดยการฟัง อ่าน และรับประสบการณ์ โดยสัมผัสกับข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมแต่ละอย่าง
  • เราใช้การคิดวิเคราะห์และตรวจสอบค่านิยมเหล่านี้โดยการใช้แนวทางต่าง ๆ และนำไปปฏิบัติใช้ในสถานการณ์ชีวิตของเราเอง ซึ่งนำไปสู่ “การรู้แจ้งเกี่ยวกับการวิจารณ์”  จุดนี้หมายถึงเวลาที่เราร้อง “อ๋อ” เมื่อเราตระหนักถึงการรู้แจ้งเกี่ยวกับตัวเรา ซึ่งเชื่อมโยงกับความรู้ระดับแรกเกี่ยวกับชีวิตของเรา
  • ทำความคุ้นเคยนั้นซ้ำ เปลี่ยนค่านิยมเหล่านั้นให้กลายเป็นความแข็งแกร่งทางอุปนิสัย และลักษณะทางบุคลิกภาพ  จุดนี้จะเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติ การอภิปราย และการโต้วาทีอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งคุค่านิยมเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง

ขอบเขตทั้งสาม

ส่วนบุคคล – ก่อนที่เราจะใส่ใจความจำเป็นของผู้อื่นและชุมชนในวงกว้าง เราต้องเรียนรู้ที่จะใส่ใจในความจำเป็นและชีวิตภายในของเราก่อน  สิ่งนี้เกิดขึ้นได้โดยการพัฒนาความเข้าใจทางอารมณ์ ซึ่งจะทำให้เราสามารถระบุอารมณ์ต่าง ๆ และเข้าใจผลกระทบของอารมณ์เหล่านั้น เราจึงสามารถยับยั้งตัวเองจากพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเราและผู้อื่นได้

ในสังคม - ในฐานะมนุษย์ เราเป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราเชื่อมโยงกับผู้อื่นให้ได้เป็นอย่างดี  เราสามารถสร้างคุณสมบัติทางสังคมผ่านการเรียนรู้ การพิจารณา และการปฏิบัติที่มีปฏิสัมพันธ์

ในทั่วโลก – ในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน การมีความเห็นอกเห็นใจอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป  เรายังต้องใช้ความเข้าใจในเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับการพึ่งพากันของระบบต่าง ๆ ในโลกที่เราอาศัยอยู่  รู้ว่าการมองสถานการณ์จากมุมมองที่หลากหลายช่วยทำให้กระบวนการแก้ปัญหามีองค์รวมมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เราหลีกเลี่ยงแนวโน้มในการแบ่งปัญหาต่าง ๆ ให้กลายเป็นปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายชิ้นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

เส้นการเรียนรู้

เส้นการเรียนรู้คือวิธีในการสำรวจ ประเมินผล และซึมซับค่านิยมทั้งสามประการตามที่กล่าวไปข้างต้น  วิธีเหล่านี้ทำให้ความรู้และความเข้าใจของเราเกี่ยวกับค่านิยมนี้ก่อตัวขึ้นและหยั่งรากลึกจนกลายเป็นฐานที่มั่นคง  ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • การคิดวิเคราะห์ – สำรวจหัวข้อและประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่านการใช้ตรรกะ มุมมองที่หลากหลาย การสนทนาและการโต้วาทีเพื่อความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น
  • ปฏิบัติการพิจารณา – มุ่งความใส่ใจไปยังประสบการณ์ส่วนตัวตามวิธีที่มีโครงสร้างเพื่อซึมซับทักษะ
  • มุมมองเชิงวิทยาศาสตร์ – ทำความเข้าใจเรื่องอารมณ์และโลกจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้แนวทางที่เป็นกลางในเชิงวัฒนธรรมหรือศาสนา
  • การเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ – เข้าร่วมการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เช่น การแสดงออกทางสร้างสรรค์ (ศิลปะ ดนตรี การเขียน) หรือการเรียนรู้ทางระบบนิเวศน์ (มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับโลกแห่งธรรมชาติ) ซึ่งจะนำไปสู่การพิจารณาของเรา

เส้นการเรียนรู้ทั้งสี่มีพื้นฐานในของหลักการความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นหัวใจของทั้งสามมิติ  มีบ่อยครั้งที่ความเห็นอกเห็นใจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นความอ่อนแอ กล่าวคือเราปล่อยให้ผู้อื่นได้อย่างที่เขาต้องการโดยเราเป็นฝ่ายเสีย หรือการยอมให้ผู้อื่นรังแกหรือกระทำพฤติกรรมเชิงลบกับเรา  การเรียนรู้ SEE เข้าใจว่าความเห็นอกเห็นใจคือความเห็นอกเห็นใจที่กล้าหาญ คือลักษณะของความห่วงใยและความอาทรต่อผู้อื่นซึ่งเกิดขึ้นจาก และก่อผลลัพธ์ใน พลังอันยิ่งใหญ่ภายใน

สรุป

จากการใช้การเรียนรู้ SEE เราจะได้รับความตระหนักรู้ในมุมมองของเราเกี่ยวกับความคิดและความรู้ของเรา รวมถึงของผู้อื่นและชีวิตทางจิตใจของพวกเขา  เราสร้างทักษะของความสะอาดทางอารมณ์และการดูแลตัวเอง พร้อมทั้งความเห็นอกเห็นใจอย่างกล้าหาญสำหรับผู้อื่น และการรับรู้ถึงมนุษยชาติส่วนรวมที่ให้ค่านิยมกับผู้คนที่อยู่ทุกหนทุกแห่ง  ท้ายที่สุดแล้วเมื่อเราสามารถแยกแยะพฤติกรรมที่มีประโยชน์ออกจากพฤติกรรมเชิงทำลายได้ เราก็จะสามารถเชื่อมโยงกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลและมีความเอาใจใส่ ซึ่งช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ในระดับโลกสำหรับประโยชน์ทางสังคมในวงกว้าง  ดังนั้นการเรียนรู้ SEE จึงเป็นโปรแกรมครอบคลุมที่นำทางเราไปสู่ค่านิยมและทักษะต่าง ๆ ที่ทำให้เราสามารถพัฒนาสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการเห็นค่าในตัวเอง เชื่อมโยงกับผู้คนรอบตัวเราได้ดี และกลายเป็นประชากรโลกที่มีความรับผิดชอบ

หากคุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดอ่านโครงสร้างการเรียนรู้  SEE ฉบับเต็มและเรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมอื่น ๆ  ของศูนย์อนุปัสสนาวิทยาและจริยธรรมบนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ (Center for Contemplative Science and Compassion-Based Ethics)

Top