ในพระพุทธศาสนา ความความเห็นอกเห็นใจ คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานการเห็นคุณค่าในความรู้สึกของคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราผ่านความทุกข์ยากแบบเดียวกันมา ถึงแม้ว่าเราจะไม่เคยประสบกับสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญ เราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราและรู้สึกว่ามันจะต้องเลวร้ายแค่ไหน ลองนึกภาพว่าเราจะอยากเป็นอิสระมากแค่ไหน เราก็ปรารถนาอย่างเเรงกล้าให้ผู้อื่นเป็นอิสระเช่นเดียวกัน
ความรักและความเห็นอกเห็นใจเป็นสิ่งจำเป็นไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย หากปราศจากสิ่งเหล่านี้ มนุษยชาติก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ – องค์ดาไลลามะที่ 14
ความเห็นอกเห็นใจ เปิดหัวใจและจิตใจของเราให้ผู้อื่น ให้เราออกจากขอบเขตเหงาที่สร้างด้วยตนเอง ในการคิดแต่เรื่องของตัวเอง เราทุกคนต่างร่วมกันในการเผชิญปัญหาในชีวิตและ เมื่อเรารู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น เราจะเอาชนะความโดดเดี่ยวและความวิตกกังวล การมีความเห็นอกเห็นใจได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าทำให้เรามีความสุขและรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น การรับความเจ็บปวดและความทุกข์ของผู้อื่นอย่างจริงจัง และการต้องการช่วยเหลือเขา ทำให้เรามีกำลังภายในและความมั่นใจในตนเอง หากเราฝึกฝนตนเองให้พัฒนาความเห็นอกเห็นใจ ก็จะกลายเป็นบ่อเกิดอย่างลึกซึ้งแห่งความผาสุก
ความเห็นอกเห็นใจควรกระตือรือร้น จูงใจให้เรารับผิดชอบในการบรรเทาความทุกข์ของผู้อื่น ความสามารถของเราในการช่วยเหลืออาจมีจำกัด แต่เรายังคงทำทุกอย่างที่ทำได้เพราะทนไม่ได้ที่จะยืนเฉยๆ ในขณะที่ผู้คนไม่มีความสุขและเจ็บปวด
ความเห็นอกเห็นใจจะเกิดผลมากที่สุดเมื่อรวมกับความรู้และปัญญา เพื่อให้เราเลือกได้ถูกต้องว่าจะทำอะไร ถ้าเรามีวุฒิทางอารมณ์เพียงพอที่จะไม่อารมณ์เสียหรือท้อแท้เมื่อช่วยไม่ได้หรือสิ่งที่เราแนะนำไม่ได้ผล ความเห็นอกเห็นใจกลายเป็นแรงจูงใจที่แข็งแกร่งที่สุดในการเอาชนะข้อบกพร่องและพัฒนาศักยภาพของเราอย่างเต็มที่