กรรมหมายถึงแรงกระตุ้นทางจิตใจ ตามรูปแบบพฤติกรรมที่ผ่านมาของเรา ที่ขับเคลื่อนให้กระทำ พูด และคิดในแบบที่เราทำ นิสัยของเราปูทางของระบบประสาทในสมอง ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นโดยสถานการณ์ที่เหมาะสม ทำให้เราทำซ้ำรูปแบบพฤติกรรมปกติของเรา พูดง่ายๆ ก็คือ เรารู้สึกอยากทำอะไรบางอย่าง แล้วเราก็ลงมือทำมัน อย่างกดบังคับ
กรรมมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโชคชะตาหรือพรหมลิขิต เเมื่อมีคนได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก ผู้คนอาจพูดว่า “โชคไม่ดี นั่นเป็นกรรมของพวกเขา” นี่คล้ายกับแนวคิดเรื่องเจตน์จำนงค์ของพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเข้าใจหรือควบคุมได้ นั่นไม่ใช่แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับกรรมเลย กรรม หมายถึง แรงกระตุ้นทางจิตใจที่ทำให้เราตะโกนใส่ใครซักคนเวลาที่เขารำคาญเรา หรือ รออย่างอดทนจนกว่าเราจะสงบพอที่จะแก้ปัญหาได้ [ปฏิบัติตามคำแนะนำการทำสมาธิ: การทำใจให้สงบ] นอกจากนี้ยังหมายถึงแรงกระตุ้นที่ชักนำให้เราบิดข้อเท้าอย่างเป็นนิสัยขณะที่เราเดินลงบันไดหรือเดินลงอย่างระมัดระวังเป็นนิสัย
การสูบบุหรี่เป็นตัวอย่างที่ดีของวิธีการทำงานของกรรม เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราสูบบุหรี่หนึ่งมวน มันทำหน้าที่เป็นศักยภาพในการสูบบุหรี่อีกมวนหนึ่งต่อไป ยิ่งเราสูบบุหรี่มากเท่าไหร่ แนวโน้มที่จะสูบต่อไปก็ยิ่งรุนแรงขึ้น จนกระทั่งโดยไม่คิดเลย แรงกระตุ้นจากกรรมจะดึงเราให้จุดมวนต่อไป กรรมอธิบายว่าความรู้สึกและแรงกระตุ้นในการสูบบุหรี่มาจากไหน กล่าวคือ จากนิสัยที่สะสมมาก่อนหน้านี้ การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่กระตุ้นให้เกิดการกระทำซ้ำ แต่ยังส่งผลต่อศักยภาพทางกายภาพภายในร่างกาย เช่น การเป็นมะเร็งจากการสูบบุหรี่ ในที่นี้ ทั้งแรงกระตุ้นและการป็นมะเร็งเป็นผลจากการกระทำอย่างบีบบังคับครั้งก่อนของเราและเรียกว่า "การสุกงอมของกรรม"
การเปลี่ยนนิสัยของเรา
กรรมมีเหตุมีผลเพราะมันอธิบายว่าความรู้สึกและแรงกระตุ้นของเรามาจากไหน และเหตุใดบางครั้งเราจึงรู้สึกมีความสุขและไม่มีความสุขในบางครั้ง ทั้งหมดเกิดขึ้นจากรูปแบบพฤติกรรมของเราเอง ดังนั้น สิ่งที่เราทำและสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ไม่มีโชคชะตาหรือพรหมลิขิต
“กรรม” เป็นคำของแรงที่ใช้งาน ซึ่งบ่งชี้ว่าเหตุการณ์ในอนาคตอยู่ในมือคุณ – องค์ดาลามะที่ 14
ถึงแม้ว่าเรามักจะรู้สึกว่าเราเป็นทาสของนิสัยของตนเอง - ท้ายที่สุดแล้ว พฤติกรรมที่เป็นนิสัยของเรานั้นอิงจากทางเดินประสาทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว - พระพุทธศาสนากล่าวว่ามันเป็นไปได้ที่จะเอาชนะมันได้ เรามีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและสร้างเส้นทางประสาทใหม่ตลอดชีวิตของเรา
เมื่อความรู้สึกมาถึงจิตใจของเราที่จะทำอะไรบางอย่าง ก็จะมีช่องว่างก่อนที่แรงกระตุ้นจากกรรมจะผลักดันให้เราลงมือทำ เราไม่แสดงออกตามความรู้สึกใดๆ ที่เกิดขึ้นทันที - เราเรียนรู้ที่จะฝึกเข้าห้องน้ำแล้ว ในทำนองเดียวกัน เมื่อเกิดความรู้สึกที่จะพูดสิ่งที่ทำร้ายความรู้สึกของผู้อื่น เราสามารถเลือกได้ว่า “จะให้พูดหรือไม่” เราอาจรู้สึกโล่งใจชั่วขณะเมื่อแสดงความรำคาญด้วยการตะโกนใส่ใครซักคน แต่การมีนิสัยชอบตะโกนใส่คนอื่นเป็นสภาวะจิตใจที่ไม่มีความสุข เราทุกคนทราบดีว่าการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจาเป็นสภาวะที่มีความสุขและสงบสุขมากขึ้น ความสามารถในการแยกแยะระหว่างการกระทำเชิงสร้างสรรค์และการทำลายล้าง เป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์อย่างแท้จริง นั่นคือข้อได้เปรียบที่ยิ่งใหญ่ของเรา
ยังไงก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปที่จะเลือกละเว้นจากการกระทำที่ทำลายล้าง มันจะง่ายขึ้นเมื่อเรามีที่ว่างในหัวของเราให้มีสติในความรู้สึกที่เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้การฝึกฝนทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมให้เราเจริญสติ [ดู: สมาธิคืออะไร] เมื่อเราช้าลง เราจะตระหนักมากขึ้นถึงสิ่งที่เรากำลังคิดและสิ่งที่เรากำลังจะพูดหรือทำ เราเริ่มสังเกตเห็นว่า “ฉันอยากจะพูดบางอย่างที่จะทำร้ายใครบางคน ถ้าฉันพูดไปมันจะทำให้เกิดความยุ่งยาก ดังนั้นฉันจะไม่พูด” ด้วยวิธีนี้เราสามารถเลือกได้ เมื่อเราไม่มีสติ เรามักจะมีความคิดและความรู้สึกที่เร่งรีบจนเราต้องกระทำการใดๆ ก็ตามที่อยู่ในหัว อย่างบีบบังคับ ทำให้เราเดือดร้อนมาก
ทำนายอนาคตของคุณ
เราสามารถทำนายสิ่งที่เราอาจประสบในอนาคตโดยพิจารณาจากพฤติกรรมกรรมในอดีตและปัจจุบันของเรา ในระยะยาว การกระทำที่สร้างสรรค์จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นสุข ในขณะที่การกระทำที่ทำลายล้างจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ
กรรมจำเพาะจะสุกงอมส่งผลอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขหลายประการ เมื่อเราโยนลูกบอลขึ้นไปในอากาศ เราสามารถทำนายได้ว่าลูกบอลจะตกลงสู่พื้น อย่างไรก็ตามหากเราจับลูกบอลแล้วมันจะไม่ตก ในทำนองเดียวกัน ในขณะที่เราสามารถทำนายจากการกระทำก่อนหน้านี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต การทำนายนั้นไม่แน่นอน โชคชะตากำหนด หรือเป็นศิลาจารึก แนวโน้ม การกระทำ และสถานการณ์อื่นๆ มีอิทธิพลต่อการสุกงอมของกรรม หากเราอ้วนและกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในปริมาณมากต่อไป เราสามารถทำนายความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต แต่ถ้าเราควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัดและลดน้ำหนักได้มาก เราก็อาจไม่ป่วยเลย
เมื่อเรากระแทกเท้า เราไม่จำเป็นต้องเชื่อในกรรมหรือเหตุและผลที่จะประสบกับความเจ็บปวด – มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หากเราเปลี่ยนนิสัยและสร้างนิสัยที่เป็นประโยชน์ ผลลัพธ์จะเป็นไปในเชิงบวกโดยไม่คำนึงถึงความเชื่อของเรา