ความจริงอันประเสริฐประการที่สอง: สาเหตุที่แท้จริงของทุกข์

ความจริงอันประเสริฐประการแรกกล่าวถึงทุกข์ที่แท้จริงที่เราล้วนประสบ หากเรามีแรงบันดาลใจที่จะดับทุกข์เหล่านี้ เราจำเป็นต้องระบุสาเหตุที่แท้จริงของทุกข์เหล่านี้ก่อน ปัญหาแท้จริงที่เราเผชิญหน้านั้นไม่ใช่แค่ว่าเราประสบกับความทุกข์และความสุขที่ไม่น่าพึงพอใจและเป็นชั่วแล่น มันจึงเปลี่ยนสลับกับความทุกข์ไปตลอดเวลา แถมเรายังทำให้การก่อตัวของสิ่งเหล่านี้ยืดยาวอีกด้วย ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ เรายังสืบสานให้การมีประเภทร่างกายและจิตใจที่จำกัด ซึ่งเราสัมผัสกับขาขึ้นขาลงในชีวิตที่ไม่อาจควบคุมได้ ตามคำกล่าวที่ว่า “หากคุณไม่มีศีรษะ คุณก็จะไม่ปวดศีรษะ!” ถึงแม้ว่าคำกล่าวนี้จะฟังดูทะเล้น มันก็มีความจริงอยู่ไม่น้อย ที่น่าอัศจรรย์คือ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบสาเหตุที่แท้จริงสำหรับอาการปวดศีรษะและการดำรงอยู่ต่อไปของประเภทศีรษะที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าสาเหตุที่แท้จริงก็คือการขาดความตระหนักรู้ หรือความอวิชชาของเรา เกี่ยวกับสาเหตุเชิงพฤติกรรมและความเป็นจริงนั่นเอง

การขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับวิธีที่เราดำรงอยู่

ในศตวรรษที่ 21 นี้ พวกเราอยู่ในยุคที่การบิดเบือนข้อมูลเป็นเรื่องแพร่หลาย และหลายคนก็หลงเชื่อสิ่งที่เรียกว่า “ข้อเท็จจริงทางเลือก” (alternative truths)  นี่เป็นการปะทุของสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตระหนักได้เมื่อหลายพันปีก่อนว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ทั้งปวง  นั่นคือการขาดความตระหนักรู้ หรือที่เรียกกันว่า “อวิชชา” นั่นเอง  การขาดความตระหนักรู้ในลักษณะนี้ไม่ได้หมายถึงการไม่รู้ว่าอินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร หากแต่เป็นการขาดความตระหนักรู้และความสับสนเกี่ยวกับผลระยะยาวของพฤติกรรมเรา และที่รองรับสิ่งนี้ การขาดความตระหนักรู้และความสับสนเกี่ยวกับความเป็นจริง โดยเฉพาะเรื่องวิธีการดำรงอยู่ของเรา  ซ้ำร้ายเรายังเชื่ออีกว่าความเห็นที่ผิดของเรานั้นเป็นความจริงแท้แน่นอน

เรามาลองพิจารณากันให้ใกล้ขึ้น  พวกเราต่างประสบกับเสียงในหัวที่พูดถึงแต่ “ตัวฉัน ตัวฉัน ตัวฉัน”  เมื่อใช้จุดนี้เป็นที่ตั้งแล้ว เราจึงเชื่อโดยอัตโนมัติว่ามีตัวตนที่สามารถพบได้ ที่เรียกว่า “ฉัน” โดยแยกออกจากร่างกายและจิตใจ ซึ่งตัวตนนี้เป็นผู้สั่งการเสียงนั้น  ความเชื่ออันสับสนดังกล่าวได้รับการตอกย้ำอยู่เรื่อย เพราะเมื่อใดที่เราบ่นในหัวเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับ “ตัวฉัน” หรือคิดว่า “ฉัน” จะทำอะไรต่อไปดี เราจะรู้สึกว่ามันมีตัวตนของ “ฉัน” อันมั่นคงที่เราห่วงหาอยู่จริง  แน่นอนว่าพวกเราดำรงอยู่จริง  พระพุทธเจ้าทรงมิได้ปฏิเสธข้อนี้  ปัญหาคือการที่เราไม่ได้ดำรงอยู่ในรูปแบบที่เรารู้สึกเหมือนที่ว่าเราดำรงอยู่นั่นเอง  พวกเราต่างไม่ได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้  พวกเราต่างเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในความเป็นจริงทางเลือกนี้ จึงทำให้เราเกิดความสับสนอย่างสมบูรณ์

Top