คำอธิบาย
การทำสมาธิในทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้นไปที่การเอาชนะปัญหา นี่คือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอรยิสจัจ์ 4 ประการ เพื่อช่วยให้เราจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้ดีขึ้น เราทุกคนต่างมีปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิต ปัญหาบางอย่างรุนแรงกว่าปัญหาอื่น ๆ แต่หนึ่งในปัญหาต่าง ๆ ที่พวกเราส่วนใหญ่เผชิญนั้นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่น
ความสัมพันธ์บางอย่างอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากและท้าทาย แต่พระพุทธเจ้าสอนเราว่ามีบางอย่างที่เราสามารถทำได้เพื่อให้สามารถจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้ดีขึ้น เราจำเป็นต้องมองเข้าไปในตัวเราเองเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ นี่เป็นเพราะไม่ว่าคนอื่นจะมีส่วนในปัญหาของเราอย่างรุนแรงแค่ไหนก็ตามแต่สิ่งเดียวที่เราสามารถควบคุมได้ก็คือ ตัวเราเองตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร นั่นหมายถึงวิธีที่เราตอบสนองทั้งในทางทัศนคติและพฤติกรรมของเรา
เนื่องจากพฤติกรรมของเราถูกหล่อหลอมโดยทัศนคติของเรา เราจึงต้องให้ความสำคัญกับความพยายามในการปรับปรุงทัศนคติของเรา ถ้าเราแทนทัศนคติที่ก่อปัญหาด้วยทัศนคติที่เป็นประโยชน์มากกว่าโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและความเห็นอกเห็นใจ หากไม่สามารถขจัดความทุกข์ที่เราประสบจากความสัมพันธ์ที่ยากลำบากให้หมดไปได้ เราก็จะลดมันให้เหลือน้อยที่สุด
การทำสมาธิ
- ทำใจให้สงบโดยการมุ่งเน้นความใส่ใจไปที่ลมหายใจ
- มุ่งความใส่ใจไปที่คนที่คุณมีความสัมพันธ์ที่ยากลำบากด้วย เป็นตัวอย่างของอรยิสจัจ์ประการแรก นั่นคือความทุกข์ที่แท้จริง
- ปล่อยให้ความรู้สึกที่น่ารำคาญใจนั้นเกิดขึ้น
- ให้ตรวจสอบว่าเหตุใดคุณจึงรู้สึกเช่นนั้นเป็นตัวอย่างของอรยิสจัจ์ประการที่สอง นั่นคือสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ มันอาจเป็นเพราะว่าเขายากที่จะอยู่ด้วยและทำให้เรามีช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรือเราไม่ชอบอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเขา หรือเขาไม่ว่างตลอดเวลายามที่เราต้องการอยู่กับเขา หรือเขาไม่ได้อารมณ์ดีเสมอไป
- เมื่อเรามองลงลึกลงไป เราจะเห็นว่าเราระบุคน ๆ นั้นในแง่มุมนั้นเท่านั้นและไม่ถือว่าเขาก็เป็นมนุษย์ที่มีคนอื่นอีกมากมายในชีวิตของเขาและสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่อเขานอกจากเรา และเขาก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับเราและต้องการเป็นที่ชื่นชอบเช่นเดียวกับที่เราต้องการ
- ไม่ใช่ทุกคนที่รู้สึกแบบนั้นกับเขา ดังนั้น มันจึงเป็นไปได้ที่จะยุติความรู้สึกรำคาญและไม่สบายใจของการอยู่ร่วมกับเขาเป็นตัวอย่างของอรยิสจัจ์ประการที่สาม นั่นคือความหยุดที่แท้จริงความทุกข์
- เพื่อที่จะกำจัดความรู้สึกไม่สบายใจนั้น เราจะต้องเข้าใจ ซึ่งเป็นตัวอย่างของอรยิสจัจ์ประการที่สี่ นั่นคือหนทางที่แท้จริงของความเข้าใจที่ถูกต้องว่าถ้าเขาดำรงอยู่ในฐานะคนที่น่ารำคาญอย่างแท้จริงคนหนึ่ง ฉะนั้นแล้วทุกคนก็จะพบว่าเขาน่ารำคาญตั้งแต่เกิด แต่นั่นเป็นไปไม่ได้
- ให้เราตัดการฉายภาพว่าเขาเป็นคนที่น่ารำคาญอย่างแท้จริงออกไป
- จากนั้น เราก็มองดูเขาโดยปราศจากความรำคาญ ดูเหมือนเขาน่ารำคาญแค่ในสายตาเรา แต่นั่นเป็นเหมือนภาพลวงตา
- จากนั้น เราก็สร้างทัศนคติที่ห่วงใยต่อเขา เขาเป็นมนุษย์และต้องการเป็นที่ชื่นชอบและมีความสุข และไม่ต้องการถูกเกลียดชัง เช่นเดียวกับที่ฉันก็แค่ไม่ต้องการให้คน ๆ นี้ทำกับฉันราวกับว่าฉันเป็นคนน่ารำคาญเหมือนกับยุง มันจะส่งผลต่อความรู้สึกของฉัน ดังนั้น เขาก็ไม่ชอบสิ่งนั้นเช่นกันและมันก็ส่งผลต่อความรู้สึกของเขาด้วยเหมือนกัน
- มองดูบุคคลนั้นด้วยทัศนคติที่ห่วงใย
สรุป
แน่นอนว่า ในการจัดการกับคนยาก ๆ เราจำเป็นต้องทำใจให้สงบก่อนเมื่อเจอพวกเขา หรือก่อนที่จะพบกับพวกเขาถ้าเรามีโอกาส จากนั้นเมื่อเราอยู่กับพวกเขา เราต้องถือว่าพวกเขาเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เรามีและพัฒนาทัศนคติที่ห่วงใย อุปสรรคอย่างหนึ่งในการพัฒนาทัศนคติดังกล่าวคือ การไม่มองดูบุคคลนั้นในบริบทความเป็นจริงในชีวิตของพวกเขาที่ใหญ่กว่า ถ้าเรากำจัดการฉายภาพที่เป็นเท็จของเราและมองพวกเขาตามความเป็นจริงมากขึ้นด้วยทัศนคติที่เปิดกว้างและห่วงใย เราก็จะสามารถจัดการกับพวกเขาได้สำเร็จมากขึ้น