ปฏิบัติจริยธรรมสากล

จิตใจของมนุษย์นั้นเป็นทั้งแหล่งต้นตอและ หากได้รับการชี้แนะอย่างถูกต้อง เป็นทางออกของปัญหาทั้งหมดของเรา  ผู้ที่ได้รับการเรียนขั้นสูงแต่ขาดจิตใจอันดีงามนั้นตกอยู่ในอันตรายของการเป็นเหยื่อความกระวนกระวาย ความว้าวุ่น อันเป็นเหตุมาจากความปรารถนาที่ไม่อาจเติมเต็มได้  ความรู้ทางวัตถุอาจเป็นบ่อเกิดของความคิดและความรู้สึกในเชิงลบได้ง่าย ๆ  ในทางกลับกัน ความเข้าใจอย่างแท้จริงในคุณค่าทางธรรมนั้นจะนำมาซึ่งความสันติสุข - สมเด็จองค์ดาไลลามะที่ 14

ที่ศูนย์องค์ดาไลลามะสำหรับจริยธรรมและคุณค่าเชิงเปลี่ยนแปลง (Dalai Lama Centre for Ethics and Transformative Values) ณ สถาบัน สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) สมเด็จองค์ดาไลลามะทรงอธิบายถึงเหตุผลที่เราจำเป็นต้องพูดถึงจริยธรรมสากล โดยทรงตรัสว่าในจำนวนผู้คนกว่าเจ็ดสิบพันล้านคนทั่วโลก มีผู้คนจำนวนมากที่ไม่มีศรัทธาเฉพาะ  และท่านทรงตรัสว่าเราไม่สามารถให้ระบบการฝึกจิตกับผู้คนเหล่านี้โดยอิงจากศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ระบบการฝึกนี้จะต้องตั้งอยู่บนการศึกษาแบบโลกวิสัย

ตอนนั้นวิกฤติทางการเงินเพิ่งปะทุขึ้นในอเมริกา และในโอกาสเดียวกันนี้ท่านก็ตรัสว่าผู้นำในวอลล์สตรีท (Wall Street) ส่วนใหญ่จบมาจากมหาวิทยาลัยในเครือไอวี่ลีก (Ivy League) ทั้งนั้น  มันเป็นไปได้อย่างไรที่พวกเขาไม่ได้รับการสั่งสอนเกี่ยวกับความโลภและการโกงเลยในช่วงเวลาของการศึกษา  ในปัจจุบันศูนย์นี้ที่ MIT เริ่มมีการเรียนรู้วิธีจัดการกับความโลภ การโกง และการปฏิเสธต่าง ๆ โดยการทำความเข้าใจวิธีที่อารมณ์ส่งผลต่อการตัดสินใจของเรา และเข้าใจผลต่าง ๆ ที่ตามมาในระยะยาวจากการตัดสินใจของเรา

ท่านสมเด็จทรงกล่าวถึงการนำจริยธรรมสากลไปปฏิบัติ โดยทรงแนะนำสามข้อดังต่อไปนี้

  • จริยธรรมแห่งการสำรวมยับยั้งชั่งใจ
  • จริยธรรมแห่งคุณธรรม
  • จริยธรรมแห่งการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและความเห็นอกเห็นใจ

จริยธรรมของการสำรวมยับยั้งชั่งใจคือ วิธีการละทิ้งนิสัยในเชิงลบทางร่างกายและคำพูดออกไป  ท่านสมเด็จทรงตรัสว่าร่างกายนั้นหยาบและจิตใจนั้นมีความละเอียดอ่อน  หากเราไม่สามารถแม้แต่จะควบคุมร่างกายของเราได้ ก็อย่าหวังว่าจะไปควบคุมจิตใจได้เลย  ด้วยการสังเกตนิสัยในเชิงลบทางร่างกายและคำพูด จากนั้นจึงสังเกตจิตใจ  เรากำลังปฏิบัติการสำรวมยับยั้งชั่งใจเชิงจริยธรรมอยู่ ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงจริยธรรมแห่งคุณธรรมได้  ข้อนี้หมายถึงการเสริมพฤติธรรมในเชิงบวกของเรา เช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความมีน้ำใจ การให้อภัย และการแยกแยะ  เมื่อปฏิบัติดังนี้ได้แล้ว เราก็จะมาถึงจริยธรรมแห่งการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรือความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งหมายถึงการอุทิศชีวิตของเราให้กับการช่วยเหลือผู้อื่น

Top