Study buddhism shantideva

ศานติเทวะ

พระศานติเทวะ (ศตวรรษที่ 8) ถือเป็นแหล่งคำสอนเรื่องพระโพธิสัตย์ ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนาแบบธิเบตทุกนิกาย โดยเฉพาะคำสอนหลักปฏิบัติอันว่าด้วยเรื่องบารมีหกประการ

ท่านศานติเทวะ (Shantideva) ประสูติในศตวรรษที่แปดในฐานะโอรสของกษัตริย์แห่งดินแดนในภูมิภาคเบงกอลของอินเดียตะวันออก เมื่อเจ้าชายกำลังจะขึ้นครองบัลลังก์ทรงฝันถึงพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (Manjushri) ซึ่งได้กล่าวว่า “บัลลังก์นี้ไม่ได้มีไว้สำหรับท่าน” ด้วยความเอาใจใส่ตามคำแนะนำของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ท่านจึงได้สละราชบัลลังก์และไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า ที่นั่นท่านได้พบและศึกษากับอาจารย์ที่ไม่ใช่ชาวพุทธหลายคน ได้ทำสมาธิอย่างเข้มข้นและบรรลุสภาวะขั้นสูงของสมาธิที่มุ่งมั่น (ฌาน) แต่ก็เช่นเดียวกับกรณีของพระศากยมุนี (Shakyamuni) ท่านตระหนักว่า การถอยเข้าสู่สภาวะที่การมีสมาธิที่ลึกซึ้งมากไม่ได้ขจัดรากเหง้าของความทุกข์ เมื่ออาศัยพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ในที่สุด ท่านได้มองเห็นร่างตัวแทนแห่งปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหมดที่แท้จริง และรับคำสอนจากท่าน

จากนั้นท่านศานติเทวะก็ออกจากป่า และไปที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา (Nalanda) ซึ่งเป็นที่ ๆ ท่านได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยเจ้าอาวาสวัดนี้ ที่นั่น ท่านได้ศึกษาพระสูตรและพระตันตระที่ยิ่งใหญ่ และฝึกปฏิบัติสิ่งเหล่านั้นอย่างเข้มข้น แต่ท่านได้ซ่อนการปฏิบัติทั้งหมดของท่านไว้ ทุกคนคิดว่าท่านไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจากกิน นอน และขับถ่ายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ท่านอยู่ในสภาวะสมาธิของแสงที่ชัดเจนตลอดเวลา

ในที่สุด พระในวัดได้ตัดสินใจขับไล่ท่านเพราะพวกเขาคิดว่าท่านไม่มีประโยชน์ พวกท่านได้ออกอุบายบอกท่านศานติเทวะว่า ท่านต้องแสดงธรรมเทศนาตามเนื้อหาต้นฉบับโดยคิดว่าท่านจะทำไม่ได้และรู้สึกอับอาย พวกท่านได้ตั้งธรรมาสน์ให้สูงมากโดยไม่มีบันไดใด ๆ ให้ก้าวขึ้นไปเพราะคิดว่าท่านไม่สามารถขึ้นถึงได้ แต่ธรรมาสน์นั้นก็ลดระดับลงมาถึงระดับเดียวกับท่านศานติเทวะเพื่อที่ท่านจะได้ขึ้นไปนั่งได้อย่างง่ายดาย

จากนั้น ท่านจึงเริ่มคำสอนในหัวข้อ การลงมือในพฤติกรรมของพระโพธิสัตว์ หรือโพธิจรรยาวตาร เมื่อท่านแสดงธรรมมาถึงตอนหนึ่งในบทที่เก้าเรื่องสุญญตา (ความว่างเปล่า) ท่านก็ค่อย ๆ ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า ตอนที่ว่านั้นคือ

(IX.34) เมื่อปรากฏการณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ (มีอยู่จริง) หรือปรากฎการณ์ซึ่งใช้การไม่ได้ (ของการมีอยู่ไม่จริง) ไม่เหลืออยู่ต่อหน้าจิตใจที่เป็นคู่นั้น ฉะนั้นแล้ว เนื่องจากทางเลือกอื่นไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้ จึงมีการสร้างความสงบอย่างสมบูรณ์ไปยัง (สภาพ) ที่ปราศจากเป้าหมายทางจิตใจ (ที่เป็นไปไม่ได้)

หลังจากนั้น ก็ได้ยินแค่เพียงเสียงของท่านท่องข้อความที่เหลือ ท่านเองก็หายลับไป ต่อมาพระสงฆ์ได้เขียนข้อความนั้นขึ้นจากความทรงจำ

ในคำสอนของท่านศานติเทวะได้อ้างถึงตำราอีกสองเล่มที่ท่านเขียนที่นาลันทา (1) บทสรุปของการฝึกอบรม หรือ สิกขาสมุจจย (The Compendium of Trainings or Shikshasamuccaya) และ (2) บทสรุปพระสูตร หรือ สูตรสมุจจย (The Compendium of Sutras or Sutrasamuccaya) แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะพบตำราเหล่านี้ได้ที่ไหน ในที่สุด ก็มีคนเห็นภาพของท่านศานติเทวะบอกเขาว่า บทสรุปเหล่านั้นซ่อนอยู่ในคานเพดานของห้องพระรูปหนึ่ง ท่านศานติเทวะกล่าวในนิมิตว่าท่านจะไม่กลับมาแล้ว

บทสรุปของพระสูตร สรุปประเด็นหลักของพระสูตร ในขณะที่ บทสรุปของการฝึกอบรม สรุปแนวทางการปฏิบัติพระสูตร เนื้อหาข้อความที่สองที่แปลเป็นภาษาทิเบต รวมทั้ง การลงมือในพฤติกรรมของพระโพธิสัตว์ พบใน เต็งยุร (Tengyur) ซึ่งเป็นชุดรวบรวมการแปลอรรถกถาของอินเดียต่อคำพูดต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาทิเบต อ้างอิงจากท่านคูนู ลามะ รินโปเช (Kunu Lama Rinpoche) บทสรุปพระสูตร ได้รับการแปลเป็นภาษาทิเบต แต่ไม่พบใน เต็งยุร

มีการเขียนอรรถกถาหลายประการเกี่ยวกับ การลงมือในพฤติกรรมของพระโพธิสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทที่เก้า ที่แปลเป็นภาษาทิเบตมาจากทุกนิกายเนื่องจากเนื้อหานี้เป็นส่วนที่สำคัญมากของทุกนิกายพุทธศาสนาในทิเบต ในนิกายเกลุก (Gelug) การนำเสนอที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติตามเส้นทางตามลำดับ (Lam-rim chen-mo) ของท่านสองขะปะ (Tsongkhapa) อาศัยบทสรุปการฝึกอบรม และ การลงมือในพฤติกรรมของพระโพธิสัตว์ อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคำสอนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนตนเองและผู้อื่น แม้ว่าท่านสองขะปะจะไม่ได้เขียนอรรถกถาแยกต่างหากเกี่ยวกับ การลงมือในพฤติกรรมของพระโพธิสัตว์ แต่ การนำเสนอที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติตามเส้นทางตามลำดับ ของท่านครอบคลุมหลายประเด็นในนั้น สาระสำคัญของการอธิบายความหมายที่ตีความได้และที่ตกลงกำหนด (Drang-nges legs-bshad-snying-po) ของท่านได้ครอบคลุมหลายประเด็นในบทที่เก้า การชี้แจงเจตนาอย่างเต็มที่ (ของ “ส่วนเสริม (บทเค้ามูลของพระนาคารชุนแห่ง) ทางสายกลาง” [ของท่านจันทรกีรติ (Chandrakirti)]  (dBu-ma dgongs-pa rab-gsal) ของท่านก็อาศัยสิ่งนี้อย่างมาก 

ข้อความที่ตัดตอนมาจากการปาฐกถาเรื่อง “การลงมือในพฤติกรรมของพระโพธิสัตว์” โดยสมเด็จองค์ดาไลลามะองค์ที่ 14 ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย เดือนมกราคม 2521 ได้รับการแปลและแก้ไขเรียบเรียงโดย ดร. อเล็กซานเดอร์ เบอร์ซิ่น
Image source: himalayanart.org
Top