หลักการพระพุทธศาสนา 5 ข้อในการดำเนินธุรกิจ

How to 5 tips business

พระพุทธศาสนามักเกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ แต่ยังให้ความรู้แจ้งหลายประการเกี่ยวกับวิธีคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสาขาใดก็ได้ มาดูหลักการทางพระพุทธศาสนาที่สามารถช่วยให้เราดำเนินโครงการหรือธุรกิจต่างๆ ได้

กำหนดเป้าหมาย

พระพุทธศาสนาเน้นย้ำหนักแน่นถึงการมีความเข้าใจที่ชัดเจนในเป้าหมายและทิศทางก่อนจะเข้าไปลงมือกับการปฏิบัติธรรม เป้าหมายคือกำจัดอารมณ์ที่รบกวนจิตใจให้หมดสิ้น และบรรลุถึงศักยภาพของจิตใจและหัวใจของเราอย่างเต็มที่ สภาวะสุดท้ายนี้เรียกว่า “การตรัสรู้”

ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราเริ่มต้นโครงการหรือธุรกิจใดๆ สิ่งสำคัญคือการกำหนดเป้าหมาย มันเป็นกำไรหรือไม่ เป็นการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าหรือแก้ปัญหายากๆ ที่พวกเขาประสบอยู่หรือไม่ ยิ่งกำหนดเป้าหมายได้แม่นยำมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งหาทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้นเท่านั้น และโอกาสจะไปถึงเป้าหมายนั้นก็จะยิ่งสูงขึ้น

ดำเนินตามหลักการเหตุและผล

เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้ว เราต้องหาสาเหตุที่จะนำไปสู่เป้าหมายนี้ เพื่อการตรัสรู้ เหตุจะเป็นการหยุดพฤติกรรมทำลายล้างและฝึกคุณสมบัติที่ดีของจิตใจ ทำความคุ้นเคยกับวิธีที่สร้างสรรค์และเป็นจริงในการรับรู้โลกและจัดการกับมัน

ในกรณีของโครงการธุรกิจ เราต้องใช้ตรรกะในการหาสาเหตุที่จะนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายที่วางไว้ กระบวนการนี้เหมือนกับวิศวกรรมย้อนกลับ กล่าวคือ เราเริ่มติดตามลำดับเชิงตรรกะของการกระทำที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ กระบวนการนี้ช่วยในการกำหนดขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับแผนงานสำหรับโครงการ 

ความเห็นอกเห็นใจ: แก้ปัญหาของลูกค้า

ความเห็นอกเห็นใจถือเป็นหนึ่งในหลักธรรมที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ความเห็นอกเห็นใจคือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

เกี่ยวอะไรกับธุรกิจ ธุรกิจมีทางออกให้กับปัญหาของลูกค้า หากทางออกที่ธุรกิจจัดหาให้ดีกว่าทางออกอื่นที่มีอยู่ ธุรกิจนั้นจะชนะการแข่งขัน ดังนั้น การเข้าใจในปัญหาที่ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าอาจเผชิญและการมีทัศนคติที่เอาใจใส่ต่อปัญหาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจำเป็นต้องระบุและจำปัญหาที่แท้จริงบางอย่างที่กลุ่มเป้าหมายของเรากำลังมีในชีวิตของพวกเขาอยู่เสมอ และพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีที่ดีที่สุดตามความเข้าใจนั้น ความเห็นอกเห็นใจเป็นรากฐานสำหรับธุรกิจที่มีแนวทางที่ลูกค้าเป็นอันดับแรกหรือผู้ใช้เป็นศูนย์กลางในการดำเนินธุรกิจ

ความเป็นอนิจจัง  การปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยนแปลง

การวิเคราะห์ทางพระพุทธศาสนาทำให้เราจะมีความเห็นแจ้งอันมีค่าอีกอย่างหนึ่งถึงความเป็นจริง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา – ตัวเราเอง สิ่งแวดล้อม และทุกคนรอบตัวเรา  เป็นเรื่องง่ายมากที่จะจมอยู่กับความคิดที่ดูเหมือนชัดเจนและมั่นคง แต่ในความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มักจะเป็นสาเหตุของการคิดแคบ ความดื้อรั้น และความไม่ยืดหยุ่น

ลองใช้ เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) เป็นตัวอย่าง พวกเขาตระหนักว่าอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคสื่อ การคิดแบบเก่ามีทางออกเดียวสำหรับการบริโภคเนื้อหาวิดีโอ คือ เช่า DVD แต่เน็ตฟลิกซ์ตระหนักดีว่ามีวิธีที่ง่ายกว่านั้น – การสตรีมวิดีโอ อุตสาหกรรมการบริโภคสื่อทั้งหมดไม่ได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของตลาดและนิสัยของผู้ใช้ แต่ Netflix ตระหนักถึงสิ่งนี้ก่อน และเปลี่ยนอุตสาหกรรมทั้งหมดไปตลอดกาล

จริยธรรม: เคารพตัวเอง ทีมงาน และผู้บริโภค 

จริยธรรมทางพระพุทธศาสนาตั้งอยู่บนหลักการอหิงสา คือ การไม่ใช่ความรุนแรง เราตระหนักดีว่าทุกคนต้องการมีความสุขและไม่ต้องการทุกข์ หากเราดำเนินการตามความเข้าใจนี้และพยายามหลีกเลี่ยงการทำร้ายผู้อื่น เราก็จะได้รับความเคารพและความไว้วางใจจากพวกเขา

หากเราเคารพเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้เกิดความไว้วางใจและความเข้าใจในทีมเดียวกัน เราพยายามหลีกเลี่ยงการพูดอะไรที่น่ารังเกียจลับหลังหรือต่อหน้าผู้คน และพยายามทำตัวโปร่งใส ยิ่งเราเคารพลูกค้ามากเท่าไร เราก็ยิ่งได้รับความไว้วางใจและความภักดีกลับคืนมามากขึ้นเท่านั้น บริษัทที่ยอดเยี่ยมเช่น ฃัปโปส (Zappos) วางรูปแบบธุรกิจบนหลักการเคราพความต้องการของลูกค้า ความวางใจเป็นกลาง และความโปร่งใสในหมู่คนงาน

สรุป

เราสามารถใช้หลักการทางพุทธศาสนา 5 ประการเพื่อทำให้ธุรกิจของเราแข็งแกร่งขึ้น ได้แก่ 

  • กำหนดเป้าหมาย 
  • อาศัยเหตุและผล
  • พัฒนาความเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจแก่ลูกค้า
  • มีความระลึกในความเป็นอนิจจัง พร้อมมีการปรับตัวยืดหยุ่นและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  • ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมและเคารพเพื่อนร่วมงานและลูกค้า
Top