จุดเน้นหลักในพระพุทธศาสนาคือการปฏิบัติเอาชนะข้อบกพร่องของเราเองและบรรลุถึงศักยภาพเชิงบวกของเรา ข้อบกพร่องได้แก่ การขาดความชัดเจนและความไม่สมดุลทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เราสับสนในชีวิต ผลที่ตามมาคือ เราประพฤติด้วยแรงบังคับ ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ที่รบกวน เช่น ความโกรธ ความโลภ และความไร้เดียงสา ศักยภาพเชิงบวกของเรา ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสารอย่างชัดเจน เข้าใจความเป็นจริง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และพัฒนาตนเอง
จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาคือการทำจิตใจให้สงบและมีสติ ซึ่งหมายถึงการระลึกอยู่เสมอว่าเรากำลังประพฤติตนและพูดกับผู้อื่นอย่างไร และเรากำลังคิดอย่างไรเมื่อเราอยู่ตามลำพัง ไม่ใช่ว่าเราแค่สังเกตและปล่อยให้เป็นอย่างที่มันเป็น เมื่อเรามีสติ เราสามารถแยกแยะระหว่างสิ่งที่สร้างสรรค์กับสิ่งที่ทำลายได้ นี่ไม่ใช่การหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง จริง ๆ แล้วเรามีความห่วงใยและเปิดรับผู้อื่นมากขึ้น
จุดประสงค์ของการใคร่ครวญและความตระหนักในตนเอง คือการค้นหาสาเหตุของปัญหาของเรา อย่างแน่นอน ปัจจัยภายนอกและผู้คนย่อมให้สถานการณ์ที่ปัญหาของเราจะเกิดขึ้นแต่แนวทางในพระพุทธศาสนาคือการพยายามหาสาเหตุที่ลึกซึ้งกว่า และสำหรับสิ่งนี้ เราต้องมองที่จิตใจของเราเอง นิสัยทางจิตใจของเรา เช่นเดียวกับอารมณ์ด้านบวกและด้านลบของเรา ส่งผลต่อวิธีที่เราประสบชีวิ
เมื่อเราประสบกับความเครียดจากการทำงาน ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเหงา และความไม่มั่นคง ปัญหาในการจัดการกับสิ่งเหล่านี้มาจากสภาพจิตใจและอารมณ์ของเรา ไม่ใช่จากปัญหาเอง วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับความท้าทายที่ไม่หยุดยั้งของชีวิต คือการทำให้จิตใจของเราสงบลงและได้รับความสมดุลทางอารมณ์และความชัดเจนของจิตใจ
เมื่อเรามีสติในทางอารมณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ก่อความคับอกคับใจ และความยุ่งยากแก่เราแล้ว เราก็สามารถแก้ไขสิ่งเหล่านี้ได้
เราจำเป็นต้องใช้สุขอนามัยทางอารมณ์แบบหนึ่งตามความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความเป็นจริงและการทำงานของจิตใจ - องค์ดาไลลามะที่ 14
เราทุกคนใส่ใจเรื่องสุขอนามัยทางร่างกาย แต่การดูแลสภาพจิตใจก็สำคัญเช่นกัน ในการพัฒนาสุขอนามัยทางอารมณ์ เราต้องมีสติคำนึงถึงคำนึงถึงสามสิ่งนี้ คือ เราต้องจำยาแก้พิษสำหรับสภาวะจิตใจที่รบกวนของเรา จำไว้ในการประยุกต์ใช้เมื่อจำเป็น และจดจำในการรักษาไว้
เพื่อจดจำยาแก้พิษทั้งหมด เราควร
- เรียนรู้ว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร
- พิจารณาใคร่ครวญจนเข้าใจถูกต้อง รู้วิธีประยุกต์ และมั่นใจว่าจะใช้ได้ผล
- ฝึกนำมาปฏิบัติใช้ในการเจริญสมาธิให้เกิดความคุ้นเคย
เราต้องเป็นเหมือนหมอเพื่อดูแลรักษาตนเอง กล่าวคือ เรียนรู้ที่จะวินิจฉัยความผิดปกติของเรา ทำความเข้าใจกับสาเหตุ ดูว่ามีวิธีการรักษาอะไรบ้างและจะนำไปใช้อย่างไร และจากนั้นจึงฝึกฝนการใช้งานจริง
เมื่อเราสุขภาพไม่ดีเรื้อรัง เราต้องเชื่อมั่นในประโยชน์ของการยกเครื่องวิถีชีวิตก่อนที่เราจะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ คนส่วนใหญ่จะไม่เริ่มต้นด้วยการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับโภชนาการและการฝึกสมรรถภาพทางกาย แต่ก่อนอื่นจะลองรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ แน่นอนว่าพวกเขาต้องการคำแนะนำก่อนที่จะเริ่ม แต่เมื่อประสบผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์แล้ว พวกเขาอาจมีแรงจูงใจที่จะก้าวต่อไป
กระบวนการเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับความพยายามของเราในการได้รับสุขภาพทางอารมณ์ เมื่อเราได้ลิ้มรสความเป็นอยู่ที่ดีจากการฝึกสติแล้ว การพัฒนาแรงจูงใจและความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาจะง่ายขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเราและช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น
พระพุทธเจ้าก็เคยเหมือนเรา เป็นคนธรรมดาที่ต้องผ่านดิ้นรนชีวิต และเช่นเดียวกับพวกเราทุกคน พระองค์ต้องการปรับปรุงชีวิตของตนเองและคนรอบข้างด้วย จากการใคร่ครวญของตนเอง พระองค์ได้ตระหนักว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นรอบตัวเรา เรามีพลังและความสามารถในการอยู่ในความสงบ มีสติ และควบคุมอารมณ์ได้
สิ่งนี้ ที่ดาไลลามะชอบเรียกว่า “สุขอนามัยทางอารมณ์” เป็นสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตของวัฒนธรรมและศาสนา เพราะมันเข้าถึงหัวใจของสิ่งที่เราทุกคนปรารถนา นั่นคือชีวิตที่มีความสุขและความสงบ ปราศจากปัญหา