วิธีฉุกเฉินในการจัดการกับความกลัว
ในพระพุทธศาสนาแบบทิเบต พระนางตารา (Tara) เป็นตัวแทนของด้านพระพุทธเจ้าที่ปกป้องเราจากความกลัว พระนางตาราเป็นตัวแทนของพลังงานลมของร่างกาย และลมหายใจ เมื่อได้ทำให้บริสุทธิ์แล้ว พระนางตารายังเป็นตัวแทนของความสามารถที่จะกระทำและทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายของเราได้ การแสดงสัญลักษณ์นี้ชี้ให้เห็นถึงวิธีการฉุกเฉินหลายประการในการปฏิบัติกับลมหายใจ และด้วยพลังอันละเอียดอ่อนต่าง ๆ ในการจัดการกับความกลัว
วิธีการฉุกเฉินต่าง ๆ นั้นได้มาจากการปฏิบัติในขั้นเตรียมการ (เบื้องต้น) ที่เราทำก่อนการทำสมาธิ เรียน หรือฟังคำสอนต่าง ๆ ทั้งในและจากของตัวมันเอง การปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้เราสงบลงในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เมื่อเราหวาดกลัวอย่างมากหรือเริ่มตื่นตระหนก นอกจากนี้ ยังเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องดำเนินการก่อนที่จะใช้วิธีการที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีก เราอาจใช้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือปฏิบัติทั้ง 5 ข้อตามลำดับต่อไปนี้
- นับรอบของการหายใจด้วยการหลับตา นับเป็นรอบของลมหายใจเข้าและออก และจดจ่ออยู่กับความรู้สึกของลมหายใจที่เข้ามา กำลังลงไป ท้องด้านล่างกำลังเคลื่อนขึ้น แล้วจากนั้นก็เคลื่อนลง และลมหายใจก็จะออกไป
- นับรอบของการหายใจโดยลืมตาครึ่งหนึ่ง โฟกัสหลวม ๆ มองลงไปที่พื้น นับเป็นรอบลมหายใจออก หยุดชั่วครู่ และหายใจเข้า โดยโฟกัสแบบเดียวกันดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และหลังจากนั้นสักครู่ เพิ่มการรับรู้ถึงความรู้สึกที่ก้นของเราที่กำลังสัมผัสกับเก้าอี้หรือพื้น
- ยืนยันแรงจูงใจหรือเป้าหมายของสิ่งที่เราต้องการจะบรรลุ (สงบมากขึ้น) และเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องการที่จะบรรลุมัน
- ลองจินตนาการว่าจิตใจและพลังงานเข้ามาโฟกัสเหมือนเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
- โดยไม่นับลมหายใจ ให้โฟกัสที่ท้องด้านล่างที่กำลังเคลื่อนขึ้นและลงขณะหายใจ และรู้สึกว่าพลังทั้งหมดของร่างกายไหลเวียนอย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน
ความกลัวคืออะไร
ความกลัวคือ ความไม่สบายใจทางร่างกายและทางอารมณ์ที่รู้สึกได้เกี่ยวกับบางสิ่งที่รู้จักหรือไม่รู้จัก ซึ่งเรารู้สึกว่าเราไม่มีความสามารถในการควบคุม จัดการ หรือนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เราต้องการได้ เราต้องการกำจัดสิ่งที่เรากลัว และด้วยเหตุนี้จึงมีแรงผลักดันอย่างมาก แม้ว่าความกลัวนั้นจะเป็นความวิตกกังวลโดยทั่วไป มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเฉพาะที่เรากลัว ก็ยังมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะกำจัด “บางสิ่ง” ที่ไม่ได้ระบุไว้อยู่ดี
ความกลัวไม่ใช่แค่ความโกรธ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับความโกรธ มันเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขยายคุณสมบัติเชิงลบของสิ่งที่เรากลัว และการเพิ่มขยายตัวของ "ฉัน" ขึ้น ความกลัวจะเพิ่มความโกรธที่เป็นปัจจัยทางจิตใจของการแยกแยะ (การรับรู้) ที่เราไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับสถานการณ์นั้นได้ จากนั้น เราจึงให้ความใส่ใจกับสิ่งที่เรากลัวและกับตัวเราเองในแง่ของวิธีการแยกแยะนั้น วิธีแยกแยะและให้ความใส่ใจเช่นนั้นอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้
ความกลัวมาพร้อมกับความไม่ตระหนักรู้
ความกลัวมักจะมาพร้อมกับความไม่ตระหนักรู้ (ความไม่รู้ ความสับสน) ของความเป็นจริงบางอย่าง ไม่ว่าจะรู้จักหรือไม่รู้จักมันในลักษณะที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง ให้เราพิจารณาถึงรูปแบบที่เป็นไปได้หกแบบต่อไปนี้
(1) เมื่อเรากลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับสถานการณ์หนึ่งได้ ความกลัวของเราอาจมาพร้อมกับความไม่ตระหนักรู้ถึงเหตุและผล และวิธีการดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ วัตถุแนวความคิดของวิธีที่เรากลัวในการให้ความใส่ใจกับตัวเองและสิ่งที่เรากลัวนั้นคือ
- “ฉัน” ที่มีอยู่อย่างมั่นคงแข็งแรง ซึ่งเป็นคนที่โดยอำนาจของเขาหรือเธอเพียงอย่างเดียวควรจะสามารถควบคุมทุกอย่างได้ เช่น ลูกของเราจะไม่ได้รับบาดเจ็บ
- “สิ่ง” ที่มีอยู่อย่างมั่นคงแข็งแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ด้วยตัวมันเอง และไม่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งอื่นใด ซึ่งเราควรจะสามารถควบคุมได้ด้วยความพยายามของเราเองเพียงอย่างเดียว แต่เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เนื่องจากความขาดแคลนเฉพาะตัวบางอย่าง
สิ่งเหล่านี้เป็นวิถีทางที่เป็นไปไม่ได้ในการดำรงอยู่และวิถีทางที่เป็นไปไม่ได้ในการทำงานของเหตุและผล
(2) เมื่อเรากลัวว่าจะไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์หนึ่งได้ ความไม่ตระหนักรู้ที่มาพร้อมกันนั้นอาจเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตใจและความไม่เที่ยง เรากลัวว่าเราจะไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของเรา หรือการสูญเสียคนที่เรารักได้ เราไม่รู้ว่าประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดและความโศกเศร้านั้นเป็นเพียงการเกิดขึ้นและรับรู้ถึงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นเอง มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง และมันก็จะผ่านไปเหมือนความเจ็บปวดของหมอฟันที่เจาะฟันเรา
(3) ความกลัวของเราที่จะไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ได้อาจเป็นความกลัวว่าเราจะไม่สามารถจัดการกับมันได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ มันยังอาจนำมาซึ่งความกลัวที่จะต้องอยู่คนเดียวและกลัวความเหงาด้วย เราคิดว่าเราสามารถหาคนอื่นที่จะสามารถบรรเทาสถานการณ์ได้ สิ่งที่ถูกสร้างตามแนวความคิดในที่นี้คือ
- “ฉัน” ที่มีอยู่อย่างมั่นคงแข็งแรง ซึ่งเป็นคนที่ไร้ความสามารถ ขาดแคลน ไม่ดีพอ และเป็นคนที่ไม่มีวันเรียนรู้ได้เลย
- “คนอื่น” ที่มีอยู่อย่างมั่นคงแข็งแรง ซึ่งเป็นคนที่ดีกว่าฉันและเป็นคนที่จะช่วยฉันได้
นี่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการไม่รู้ว่าคนอื่นและเราดำรงอยู่อย่างไร และไม่ตระหนักถึงเหตุและผล มันอาจจะถูกต้องที่ตอนนี้เราไม่มีความรู้เพียงพอที่จะสามารถจัดการบางสิ่งบางอย่างได้ เช่น รถของเราพัง และมีคนอื่นที่มีความรู้นั้น และสามารถช่วยเราได้ อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยหลักการทำงานของเหตุและผล
(4) เมื่อเรากลัวใครบางคน ตัวอย่างเช่น นายจ้างของเรา เราไม่รู้ถึงธรรมชาติโดยสมมุติของพวกเขา นายจ้างของเราเป็นมนุษย์มีความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เรามี พวกเขาต้องการมีความสุข ไม่ใช่ความทุกข์ และต้องการที่จะถูกชอบ ไม่ใช่ถูกเกลียด พวกเขามีชีวิตภายนอกที่ทำงาน และสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์ของพวกเขา หากเราสามารถสร้างความสัมพันธ์กับนายจ้างในแง่ของมนุษย์ในขณะที่ยังคงคำนึงถึงตำแหน่งหน้าที่ของเราอยู่ เราก็จะมีความกลัวน้อยลง
(5) ในทำนองเดียวกัน เมื่อเรากลัวงู หรือแมลง เราไม่ตระหนักรู้ว่าพวกมันก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกเช่นเดียวกับเรา และต้องการมีความสุขและไม่ต้องการมีความทุกข์ จากมุมมองของชาวพุทธ เราอาจไม่ตระหนักรู้ถึงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ในฐานะของความต่อเนื่องทางจิตใจอันหนึ่งที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบันที่ไม่มีลักษณะเฉพาะตัวโดยกำเนิดในฐานะของสายพันธุ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เราไม่รู้เลยว่าพวกเขาอาจเป็นแม่ของเราในชาติก่อนก็ได้
(6) เมื่อเรากลัวความล้มเหลว หรือความเจ็บป่วย เราจะไม่ตระหนักถึงธรรมชาติโดยสมมุติของเราในฐานะที่เป็นสิ่งที่จำกัดมีชีวิตอยู่ในสังสารวัฏ เราไม่สมบูรณ์แบบ และแน่นอนว่าเราจะทำผิดพลาด และบางครั้งก็ล้มเหลว หรือเจ็บป่วยได้ “คุณจะคาดหวังอะไรจากสังสารวัฏ”
ความรู้สึกปลอดภัย
จากมุมมองของทางพระพุทธศาสนา ความรู้สึกปลอดภัยไม่ได้เกี่ยวข้องกับ
- การหันไปหาผู้มีอำนาจทุกอย่างที่จะปกป้องเรา เนื่องจากการมีอำนาจทุกอย่างมันเป็นไปไม่ได้
- แม้ว่าสิ่งมีชีวิตที่ทรงพลังจะช่วยเราได้ในทางใดทางหนึ่ง แต่จำเป็นต้องทำให้สิ่งนั้นพอใจ หรือถวาย หรือสังเวยเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองหรือความช่วยเหลือ
- ตัวเราเองกลายมาเป็นผู้ที่มีอำนาจทุกอย่าง
เพื่อที่จะรู้สึกปลอดภัย เราต้องการสิ่งต่อไปนี้ตามลำดับ
- จะต้องรู้ว่าเรากลัวอะไรและรับรู้ถึงความสับสนและความไม่ตระหนักรู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่เรากลัวนั้น
- มีความคิดที่เป็นจริงว่าการจัดการกับสิ่งที่เรากลัวหมายถึงอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการกำจัดความสับสนที่อยู่เบื้องหลังนั้น
- จะต้องประเมินความสามารถของเราในการจัดการกับสิ่งที่เรากลัวทั้งในขณะนี้และในระยะยาว โดยไม่ประเมินตัวเองต่ำไปหรือสูงเกินไป และยอมรับขั้นตอนปัจจุบันของการพัฒนาของเรา
- จะต้องนำสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ไปใช้ ถ้าเรากำลังทำอยู่จงชื่นชมยินดี และถ้าเรายังไม่ทำก็จงตั้งใจที่จะทำมันให้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถปัจจุบันของเราจะทำได้ แล้วลองลงมือทำจริง ๆ
- หากเราไม่สามารถจัดการกับมันได้อย่างสมบูรณ์ในตอนนี้ ก็จะต้องรู้ว่าจะพัฒนาไปถึงจุดที่เราสามารถจัดการกับมันได้อย่างไร
- จะต้องตั้งเป้าหมายและดำเนินการเพื่อไปถึงขั้นตอนของการพัฒนานั้น
- จะต้องรู้สึกว่าเรากำลังไปในทิศทางที่ปลอดภัย
เจ็ดขั้นตอนข้างต้นอธิบายถึงสิ่งที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า “การรับเอาทิศทางที่ปลอดภัย” (การรับเอาที่พึ่ง) ไม่ใช่สถานะที่อยู่เฉย ๆ แต่เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดทิศทางที่ปลอดภัยในชีวิตของเรา นั่นคือทิศทางในการฝึกฝนในลักษณะที่เป็นจริงในการกำจัดความกลัวของเราเอง ดังนั้น เราจึงรู้สึกปลอดภัยและได้รับการปกป้อง เพราะเรารู้ว่าเรากำลังดำเนินไปในทิศทางที่ดีและถูกต้องในชีวิต ซึ่งจะทำให้เราสามารถขจัดปัญหาและความยากลำบากทั้งหมดได้
มุมมองที่เป็นจริงเกี่ยวกับวิธีจัดการกับสถานการณ์ที่น่ากลัว
เราต้องจำไว้ว่า
- ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่เรารักหรือตัวเรานั้น มันคือการสุกงอมของเครือข่ายขนาดใหญ่กองกำลังของกรรมเฉพาะบุคคล รวมทั้งกองกำลังทางประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจด้วย อุบัติเหตุและสิ่งที่ไม่ปรารถนาอื่น ๆ จะเกิดขึ้น และเราไม่สามารถปกป้องคนที่เรารักจากสิ่งเหล่านี้ได้ ไม่ว่าเราจะระมัดระวังแค่ไหน และเราแนะนำให้พวกเขาระมัดระวังมากแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่เราทำได้คือ พยายามให้คำแนะนำที่ดีและมีความปรารถนาดีให้พวกเขา
- ในการที่จะเอาชนะอุบัติเหตุและความกลัว เราจำเป็นจะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความว่างเปล่าแบบไม่ใช่ตามกรอบแนวคิด อย่างไรก็ตาม การเข้าอยู่ในความว่างเปล่าอย่างเต็มที่ไม่เหมือนกับการเอาหัวเราใส่เข้าไปในหลุมใต้พื้นดิน ไม่ใช่การวิ่งหนีความกลัว แต่เป็นวิธีการกำจัดความไม่ตระหนักรู้และความสับสนที่ทำให้กรรมของเราเติบโตสุกงอมไปสู่สิ่งต่าง ๆ โดยที่เราไม่ได้ปรารถนาและทำให้เรามีความกลัว
- ในการทำงานร่วมกับการรับรู้ถึงความว่างเปล่าที่ไม่ใช่แบบตามกรอบแนวคิดเพื่อชำระตัวเราให้บริสุทธิ์จากกรรมของเรา เราจะยังคงประสบกับอุบัติเหตุและความกลัวจนถึงขั้นหลุดพ้นจากสังสารวัฏ (อรหันต์) ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของสังสารวัฏคือ มันมีขึ้นและลง ความคืบหน้าไม่เป็นเส้นตรง บางครั้งสิ่งต่าง ๆ ก็เป็นไปด้วยดีและบางครั้งมันก็ไม่เป็นเช่นนั้น
- แม้เมื่อเราบรรลุความหลุดพ้นเป็นอรหันต์แล้ว เราก็ยังจะประสบอุบัติเหตุและสิ่งที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม เราจะประสบกับสิ่งเหล่านั้นโดยปราศจากความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานเนื่องจากเราเป็นอิสระจากอารมณ์และทัศนคติที่รบกวนจิตใจ นั่นคือโดยปราศจากความกลัว ตรงขั้นตอนของการบรรลุอรหันต์เท่านั้นที่เราจะสามารถจัดการกับความกลัวทั้งหมดของเราได้อย่างลึกซึ้งที่สุด
- ต่อเมื่อเราบรรลุการตรัสรู้แล้วเท่านั้น เราจะไม่ประสบอุบัติเหตุหรือสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีกต่อไป มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ปราศจากความกลัวในการประกาศว่า
- ความบรรลุถึงคุณสมบัติและทักษะที่ดีทั้งหมดของตนเอง
- การหยุดความคลุมเคลือทั้งหมดที่ขัดขวางการปลดปล่อยให้เป็นอิสระและการตรัสรู้ที่แท้จริงของตนเอง
- ความคลุมเครือที่คนอื่นต้องกำจัดเพื่อที่จะบรรลุความหลุดพ้นและการตรัสรู้
- กำลังฝ่ายตรงข้ามที่ผู้อื่นต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อที่จะกำจัดสิ่งเหล่านั้น
วิธีการเฉพาะกาลในการจัดการกับความกลัว
- ยืนยันอีกครั้งว่าจะไปในทิศทางที่ปลอดภัยของชีวิตผ่านทาง 7 ขั้นตอนที่ระบุไว้ข้างต้น
- เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่น่ากลัว เช่น การตรวจหามะเร็ง ลองนึกภาพเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้น และจินตนาการว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเราจะจัดการกับมันอย่างไร สิ่งนี้จะช่วยขจัดความกลัวของสิ่งที่ไม่รู้จักนี้
- ก่อนที่จะทำอะไรบางอย่าง เช่น ไปถึงสนามบินให้ตรงเวลาเพื่อที่จะขึ้นเครื่องบิน ต้องเตรียมวิธีแก้ปัญหาไว้หลายอย่างเพื่อที่ว่าถ้าวิธีการหนึ่งล้มเหลว เราจะถูกเหลือทิ้งไว้กับสถานการณ์ที่น่ากลัวที่ว่าจะไม่มีทางอื่นใดที่จะบรรลุเป้าหมายของเราได้
- ตามที่ท่านศานติเทวะสอนไว้ว่า ถ้ามีสถานการณ์ที่น่ากลัว และเราสามารถทำอะไรเกี่ยวกับมันได้ ทำไมต้องวิตกกังวล ก็แค่ทำมันเท่านั้นเอง ถ้าไม่มีอะไรที่เราสามารถทำได้ ทำไมต้องวิตกกังวล มันจะไม่ช่วยอะไรเช่นกัน
- เนื่องจากเราจะต้องเผชิญกับความกลัวและความทุกข์ตลอดทางไปสู่การปลดปล่อยให้เป็นอิสระ เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับจิตใจของเราให้มีความลึกและกว้างใหญ่เหมือนมหาสมุทร และเมื่อความกลัวหรือความทุกข์เกิดขึ้น ก็ให้ปล่อยมันผ่านไปเหมือนการพองตัวในมหาสมุทร การพองตัวนั้นไม่ได้รบกวนความลึกที่สงบและเงียบของมหาสมุทร
- ถ้าเราได้สร้างพลังกรรมเชิงบวก (บุญ) จากการกระทำที่สร้างสรรค์ของเราอย่างเพียงพอ เราก็จะสามารถมั่นใจในการดำเนินชีวิตต่อไปด้วยร่างกายของมนุษย์ที่มีค่าในชาติหน้าได้ การป้องกันความกลัวที่ดีที่สุดคือ กรรมเชิงบวกของเราเอง แต่เราก็จะต้องจำไว้ว่าธรรมชาติของสังสารวัฏนั้นมีขึ้นและลง
- เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่น่ากลัว เราอาจว่าจ้างหรือประกอบพิธีกรรมเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้พิทักษ์พระธรรม หรือแง่มุมของพระพุทธเจ้า เช่น พระนางตารา หรือพระไภษัชยคุรุ แง่มุมของพระพุทธเจ้าดังกล่าวไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่มีอำนาจทุกอย่างที่จะสามารถช่วยเราได้ เราร้องขอและเปิดตัวเองเพื่อรับอิทธิพลจากการตรัสรู้ของพวกท่านเหล่านี้เพื่อที่ว่ามันจะเป็นสถานการณ์ในการทำให้แรงแห่งกรรมนั้นสุกงอมจากการกระทำที่สร้างสรรค์ของเราก่อนหน้านี้ ซึ่งอีกนัยหนึ่งอาจจะไม่ทำให้สุกงอม ผลกระทบที่มั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้นคือ เพื่อให้อิทธิพลแห่งการตรัสรู้ของพวกท่านเหล่านั้นกระทำการในฐานะที่เป็นสถานการณ์ในการทำให้สุกงอมไปสู่ความไม่สะดวกสบายเล็กน้อยของแรงแห่งกรรมจากการกระทำที่ทำลายก่อนหน้านี้ของเรา ซึ่งอาจทำให้สุกงอมไปสู่อุปสรรคร้ายแรงที่ขัดขวางความสำเร็จ ดังนั้น แทนที่จะกลัวความยากลำบาก เรายินดีต้อนรับมันในฐานะ "เผาผลาญ" แรงแห่งกรรมเชิงลบ
- ยืนยันธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าของเราอีกครั้ง เรามีระดับพื้นฐานของการรับรู้อย่างลึกซึ้งที่จะทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ยากและน่ากลัว (การรับรู้ในเชิงลึกเหมือนกระจกเงา) ที่จะรับรู้รูปแบบต่าง ๆ (การรับรู้ในเชิงลึกที่ทำให้เท่าเทียมกัน) ที่จะยอมรับปัจเจกภาพของสถานการณ์ (การรับรู้เชิงลึกที่ทำให้เป็นรายบุคคล) และที่จะรู้วิธีการกระทำ (ซึ่งอาจรวมถึงการตระหนักว่าไม่มีอะไรที่เราทำได้) (การรับรู้ในเชิงลึกที่ทำให้บรรลุ) เรายังมีระดับพื้นฐานของพลังงานที่จะกระทำได้จริงด้วย
- ยืนยันอีกครั้งว่าการมีธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายความว่าเรามีพื้นฐานสำหรับคุณสมบัติที่ดีทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเรา ในแง่จิตวิทยาตะวันตก คุณสมบัติเหล่านี้อาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว (เราอาจจะใส่ใจหรือไม่ใส่ใจสิ่งเหล่านี้ และสิ่งเหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาในระดับที่แตกต่างกัน) บ่อยครั้งที่เราฉายภาพคุณสมบัติที่ไม่รู้ตัวว่าเป็น "เงา" เนื่องจากการไม่รู้ตัวนั้นเป็นอะไรที่เราไม่รู้จัก ความตึงเครียดจากการไม่รู้ตัวจึงแสดงออกมาเป็นความกลัวต่อสิ่งที่ไม่รู้จัก และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นความกลัวในคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ไม่รู้ตัวและที่เราไม่รู้จัก ดังนั้น เราอาจระบุด้วยด้านที่เป็นสติปัญญาที่รู้ตัว และเพิกเฉยหรือปฏิเสธด้านความรู้สึกทางอารมณ์ที่ไม่รู้ตัวและที่ไม่รู้จัก เราอาจฉายภาพด้านความรู้สึกทางอารมณ์ว่าเป็นเงาและหวาดกลัวผู้อื่นที่ถือเอาอารมณ์เป็นใหญ่อย่างมาก เราอาจกลัวด้านอารมณ์ของตัวเอง และมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการไม่ได้สัมผัสกับความรู้สึกเหล่านั้นของเรา ถ้าเราระบุด้วยด้านความรู้สึกทางอารมณ์ที่รู้ตัว และปฏิเสธด้านสติปัญญาที่ไม่รู้ตัวของเรา เราอาจฉายภาพด้านสติปัญญาเป็นเงาและถูกข่มขู่โดยผู้ที่มีสติปัญญา เราอาจกลัวที่จะพยายามเข้าใจสิ่งต่าง ๆ และรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับความมัวทางสติปัญญา ดังนั้น เราจำเป็นต้องยืนยันอีกครั้งว่าทั้งสองฝ่ายสมบูรณ์ในตัวเราเช่นเดียวกับลักษณะธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าของเรา เราอาจนึกเห็นภาพทั้งสองด้านที่สวมกอดกันในรูปแบบของคู่รักเหมือนในการนึกภาพแบบตันตระ และรู้สึกว่าเราเป็นคู่ที่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่สมาชิกคนใดคนหนึ่งในคนคู่นี้เท่านั้น
- ยืนยันอีกแง่มุมหนึ่งของธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าของเรา กล่าวคือธรรมชาติของจิตใจนั้นปราศจากความกลัวโดยธรรมชาติ ดังนั้น การประสบกับความกลัวจึงเป็นเพียงเหตุการณ์ผิวเผินที่หายวับไปเท่านั้น
- ยืนยันอีกแง่มุมหนึ่งของธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า กล่าวคือเราสามารถได้รับแรงบันดาลใจจากผู้อื่นให้กล้าเผชิญกับสถานการณ์ที่น่ากลัวได้
บทสรุป
เมื่อเราเต็มไปด้วยความกลัว ถ้าเราจำวิธีการเหล่านี้ในการจัดการกับมันได้ เราจะสามารถทำให้มันเงียบสงบลง และจัดการกับสถานการณ์อะไรก็ตามที่ดูเหมือนน่ากลัวนั้นได้