ความสมบูรณ์แบบของสมาธิ: ธยานบารมี

00:49
จิตใจของเรามันเกลื่อนอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง แม้แต่ตอนที่เราพยายามจดจ่ออยู่กับบางสิ่งบางอย่าง เราก็จะถูกรบกวนอยู่ตลอดเวลาจากการแจ้งเตือนที่ไม่หยุดหย่อนจากสมาร์ทโฟนของเรา หรือจากการที่กำลังคิดฝันถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต อารมณ์ของเรามีขึ้นมีลงหยุดยั้งเราจากการจดจ่อด้วยความมั่นคงใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจิตใจของเราเต็มไปด้วยความวิตก ความกังวล และความกลัว ด้วยความสมบูรณ์แบบของสมาธิพร้อมด้วยความมั่นคงทางจิตใจและอารมณ์ เราจะสามารถใช้ความสามารถทั้งหมดของเราเพื่อทำงานเชิงบวกทุกอย่างให้สำเร็จได้

บทนำ 

ทัศนคติที่กว้างไกล (ความสมบูรณ์แบบ) ประการที่ 5 ในหกประการ คือ สมาธิหรือความมั่นคงทางจิตใจ ด้วยสมาธินี้ เราจะสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใด ๆ ได้นานเท่าที่เราต้องการด้วยอารมณ์เชิงบวกและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้อย่างสมบูรณ์แบบ จิตใจของเราจะปราศจากการใจลอย ใจไม่อยู่กับที่อันเนื่องมาจากอารมณ์ที่รบกวนจิตใจ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของความต้องการ) หรือความมัวทางจิตใจได้โดยสิ้นเชิง ด้วยจิตใจที่เฉียบแหลม พลังของเราในการจดจ่อจะเพิ่มขึ้นและควบคุมได้ง่ายขึ้น และจะไม่วิ่งพล่านในตัวเราอีกต่อไป เราจะได้สัมผัสกับความรู้สึกของความสุขที่เบิกบานใจแต่ยังสงบสุขทั้งในระดับจิตใจและร่างกาย เราจะสัมผัสได้ถึงความชัดเจนของจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อความคิดที่ไม่อยู่กับที่หรืออารมณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องถูกถอดออกไป โดยปราศจากการยึดติดกับสภาพความโล่ง ความชัดเจน และความสุขนี้ เราจะสามารถใช้มันเพื่อบรรลุจุดประสงค์เชิงบวกที่เราต้องการได้ 

มีวิธีการอยู่หลายวิธีในการแบ่งความมั่นคงทางจิตใจที่กว้างไกล ตามธรรมชาติ ตามประเภท และตามหน้าที่ของมัน 

การแบ่งตามธรรมชาติของสมาธิ

วิธีหนึ่งในการแบ่งสภาพที่แตกต่างกันของความมั่นคงทางจิตใจที่กว้างไกลคือ แบ่งตามระดับการบรรลุผลสำเร็จของคนที่มี เราสามารถแยกความสมบูรณ์แบบของสมาธิได้เป็น

  • คนธรรมดา – คนที่ยังไม่บรรลุการรับรู้ความว่างเปล่า (สุญตา) ที่ไม่ใช่เชิงมโนทัศน์ 
  • คนที่ก้าวพ้นความเป็นธรรมดา - ผู้ที่รับรู้ในระดับสูง ("อริยะ") ด้วยการรับรู้สุญตาที่ไม่ใช่เชิงมโนทัศน์ 

ผู้ที่เคยสัมผัสกับการรับรู้ความว่างเปล่าแม้เพียงเล็กน้อยด้วยการรับรู้ที่ไม่ใช่เชิงมโนทัศน์ พวกเขาก็ได้กำจัดทัศนคติที่รบกวนจิตใจของพวกเขาในบางระดับออกไป ดังนั้น พวกเขาจึงเสี่ยงภัยน้อยลงจากการที่ไม่อาจประยุกต์ใช้สมาธิที่กว้างไกลในชีวิตประจำวันได้อันเนื่องมาจากการรบกวนทางอารมณ์ต่าง ๆ 

การแบ่งตามประเภทของสมาธิ

การแบ่งนี้หมายถึง สิ่งที่เราพยายามจะทำให้สำเร็จในขณะที่เราพัฒนาเพื่อให้บรรลุความมั่นคงทางจิตใจที่กว้างไกล สมาธิของเราสามารถมุ่งเน้นไปที่การบรรลุสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ 

  • สมถะ – สภาพจิตใจที่นิ่งและสงบ เป็นอิสระจากการที่ใจไม่อยู่กับที่และความมัว ได้รับประสบการณ์กับความรู้สึกถึงความสุขที่ทำให้เบิกบานใจของความแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งสามารถที่จะมุ่งเน้นไปที่สภาพจิตใจที่เป็นบวกได้นานเท่าที่เราต้องการได้ มันจะมุ่งเน้นไปมีอารมณ์เป็นอันเดียวที่วัตถุบางอย่างด้วยสภาพจิตใจที่สร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ที่สิ่งที่จำกัดมีชีวิต ด้วยความเห็นอกเห็นใจ หรือเพียงแค่การรับรู้ที่แยกแยะ 
  • วิปัสสนา – สภาพจิตใจที่รับรู้ได้อย่างยอดเยี่ยม เหมือนกันคือ เป็นอิสระจากการที่ใจไม่อยู่กับที่และความมัว และได้รับประสบการณ์กับความรู้สึกถึงความสุขที่ทำให้เบิกบานใจของความแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งสามารถที่จะรับรู้ รายละเอียดทั้งหมดของวัตถุต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจที่ชัดเจน เช่นเดียวกับการปฏิบัติสมถะที่มุ่งเน้นไปมีอารมณ์เป็นอันเดียวที่วัตถุเดียวบางอย่างด้วยสภาพจิตใจที่สร้างสรรค์ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ แต่ในที่นี้จะปฏิบัติด้วยการสืบหาโดยรวมของลักษณะทั่วไปของวัตถุนั้น เช่น ธรรมชาติของความไม่เที่ยง หรือธรรมชาติแห่งความทุกข์ แล้วแยกแยะโดยแยบคายในรายละเอียดเฉพาะทั้งหมดของวัตถุนั้น เช่น ประเภทของความทุกข์ต่าง ๆ ทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตได้รับ
  • สมถะและวิปัสสนา ในฐานะเป็นคู่ร่วมกัน – เมื่อเราบรรลุสภาพของสมถะที่สมบูรณ์แล้ว เราก็จะรวมมันเข้ากับสภาพของวิปัสสนา สภาพที่แท้จริงของวิปัสสนาสามารถบรรลุได้ก็ต่อเมื่อได้บรรลุสภาพของสมถะแล้วเท่านั้น จากนั้น ทั้งสองสภาพคู่ร่วมนี้จะมีความรู้สึกของความสุขที่เบิกบานใจสองประเภทคือ ความรู้สึกแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจที่จะสามารถมุ่งเน้นไปที่ทุกสิ่งที่ต้องการได้และสามารถที่จะรับรู้รายละเอียดของมันทั้งหมดได้ รวมทั้งการสืบหาโดยรวมและการแยกแยะโดยแยบคายในรายละเอียดเหล่านั้นทั้งหมด 

การแบ่งตามหน้าที่ที่ดำเนินการโดยสมาธิ

เมื่อเราบรรลุความมั่นคงทางจิตใจที่กว้างไกลแล้ว ความมั่นคงนั้นจะก่อให้เกิดผลลัพธ์มากมายตามมา สิ่งเหล่านี้หมายความถึงในฐานะการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่สมาธิดำเนินการ ซึ่งสมาธิมีหน้าที่คือ

  • วางตำแหน่งของร่างกายและจิตใจของเราให้อยู่ในสภาพที่เต็มไปด้วยความสุขในชั่วชีวิตนี้ – เป็นสภาพที่เราได้สัมผัสกับความรู้สึกของความสุขที่เบิกบานใจจากการมีความแข็งแรงทางร่างกายและจิตใจ และการหยุดนิ่งชั่วคราวของอารมณ์ต่าง ๆ ที่รบกวนเรา
  • นำมาซึ่งคุณสมบัติที่ดี – การบรรลุผลสำเร็จต่าง ๆ ให้สิ่งที่คล้ายคลึงกันกับผู้ที่เพียรพยายามอย่างหนักเพื่อการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ เช่น การมองเห็นด้วยสัมผัสพิเศษและการรับรู้ขั้นสูง พลังที่ส่งผ่านออกมา ความมั่นคงทางจิตใจที่สูงกว่าเดิม (“ฌาน”) ด้วยความเป็นอิสระชั่วคราวจากความรู้สึกต่าง ๆ ที่ผสมกับความสับสน และการลดลงของอารมณ์ต่าง ๆ ที่รบกวนจิตใจ 
  • ช่วยให้เราทำประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตที่มีความทุกข์ - บุคคล 11 ประเภทที่จะช่วยเหลือ ซึ่งมีการบรรยายไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับวินัยตามหลักจริยธรรมที่กว้างไกลและความเพียร

บทสรุป

มันอาจดูเหมือนไม่ชัดเจนเสมอไป แต่เราจำเป็นต้องใช้สมาธิในการทำงานแม้เพียงชิ้นเล็ก ๆให้สำเร็จ เช่น การผูกเชือกรองเท้า พวกเราส่วนใหญ่สามารถจดจ่อสิ่งที่ซับซ้อนมากมายกว่านี้ และก็เราสามารถทำให้ทักษะเหล่านี้สมบูรณ์ได้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางศาสนาของเรา ร่วมกับทัศนคติที่กว้างไกลอื่น ๆ และขับเคลื่อนด้วยจุดหมายของโพธิจิต ทำให้ความมั่นคงทางจิตใจและสมาธิของเรากลายเป็นเรื่องที่กว้างไกลที่สามารถนำเราไปสู่การตรัสรู้ได้ 

Top