การเรียนรู้ SEE: โครงร่างประเด็นสำคัญ

โครงสร้างโดยสังเขปของการเรียนรู้ทางสังคม อารมณ์ และจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอมอรี่

ขอบเขตบุคคล (Personal Domain)

การใส่ใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับตัวเอง

การใส่ใจร่างกายของเราและความรู้สึกต่าง ๆ

  • ใส่ใจสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเรา
  • สังเกตภาวะการกระตุ้นที่สูงไปและต่ำไป (ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเซื่องซึม ความหดหู่ ฯลฯ)
  • ทำความเข้าใจว่าการมีร่างกายที่สมดุลรู้สึกอย่างไร

การใส่ใจอารมณ์และความรู้สึก

  • ใส่ใจจิตใจของเราด้วยวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การเจริญสติ

ปฏิบัติตามแผนที่ของจิตใจ

  • สามารถระบุอารมณ์ ลักษณะของอารมณ์เหล่านั้น และสิ่งที่ทำให้เกิดและสนับสนุนอารมณ์เหล่านั้น
  • เรียนรู้วิธีการรับรู้และจัดการกับอารมณ์ที่ทำลายก่อนที่อารมณ์เหล่านั้นจะกลายเป็นภาวะทางอารมณ์ที่ไม่สามารถจัดการจัดการได้

การมีเห็นอกเห็นใจต่อตัวเอง

ทำความเข้าใจอารมณ์ในบริบท

  • ใช้การคิดวิเคราะห์ในการพิจารณาว่าอารมณ์ต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับคุณค่า ความจำเป็น และความคาดหวังของเราอย่างไร
  • ตระหนักถึงคุณค่าของเราและปลูกฝังการเห็นคุณค่าในตัวเองและความมั่นใจภายใน

การยอมรับตัวเอง

  • มีมุมมองที่ตั้งอยู่บนความเป็นจริงเกี่ยวกับข้อจำกัดและศักยภาพของเรา
  • ปลูกฝังความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น ความถ่อมตัว และความกล้าหาญภายใน
  • ทำความเข้าใจว่าความผิดหวังและความความทุกข์ยากเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต

การกำกับตัวเอง 

สร้างความสมดุลให้ร่างกาย (ทำให้ร่างกายทางกายภาพของเราอยู่ในภาวะที่มีความกระตือรือร้น มีความยืดหยุ่น และมีความสมดุล) โดย

  • จัดหาแหล่งทรัพยากรที่เราสามารถเข้าถึงได้ เช่น เพื่อน สถานที่โปรด หรือความทรงจำดี ๆ
  • สร้างการมีสายดิน ที่เรากำหนดวัตถุที่ทำให้เรารู้สึกถึงการค้ำจุนหรือการมีสายดิน
  • กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โยคะ ไทชิ การฟังเพลง การวาดภาพ หรือการทำสมาธิ

การควบคุมกระบวนการทางความรู้ความเข้าใจและแรงกระตุ้น

  • พัฒนาทักษะการใส่ใจของเรา เพื่อการรักษาการใส่ใจโดยไม่เผลอไผลไปกับสิ่งฟุ้งซ่าน

การนำทิศทางอารมณ์

  • สร้างการแยกแยะทางอารมณ์เพื่อรับรู้ว่าอารมณ์แบบใดมีประโยชน์และแบบใดมีอันตราย
  • ทำให้การแยกแยะดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเป็นความรู้สึกกล้าหาญและความมั่นใจในตนเอง ทำให้เราสามารถควบคุมภาวะทางอารมณ์ได้แทนที่จะให้ภาวะเหล่านั้นควบคุมเรา

ขอบเขตสังคม (Social Domain)

ความตระหนักรู้ระหว่างบุคคล

การใส่ใจความเป็นจริงทางสังคมของเรา

  • ทำความเข้าใจว่าเราเป็นสัตว์สังคม
  • สำรวจว่าผู้อื่นมีบทบาทที่สำคัญในชีวิตของเราอย่างไร

การใส่ใจความเป็นจริงที่เรามีร่วมกับผู้อื่น

  • ทำความเข้าใจว่าผู้อื่นมีชีวิตทางอารมณ์เหมือนกับเรา
  • มองว่าพวกเรามีความเหมือนกัน เพราะเราต่างก็มีความต้องการ ความจำเป็น และความกลัวเหมือนกัน
  • เคารพข้อเท็จจริงที่ว่าความต้องการ ความจำเป็น และความกลัวแตกต่างกันสำหรับแต่ละคน

การเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง

  • พิจารณาว่าเราต่างมีประสบการณ์ชีวิตเฉพาะตัวที่ส่งอิทธิพลต่อตัวเรา
  • ทำความเข้าใจว่าความแตกต่างสามารถนำพาเราให้มาอยู่ร่วมกันได้แทนที่จะสร้างความห่างเหินระหว่างกัน

การมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น

ทำความเข้าใจความรู้สึกและอารมณ์ของผู้อื่นในบริบทนั้น

  • ทำความเข้าใจว่าการกระทำของผู้อื่นได้รับแรงกระตุ้นจากอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากความจำเป็นที่เป็นพื้นฐานของเรื่องนั้น
  • โต้ตอบการกระทำของผู้อื่นด้วยความเห็นอกเห็นใจ แทนที่จะใช้ความโกรธและการตัดสิน

การเห็นคุณค่าและปลูกฝังความความมีน้ำใจและความเห็นอกเห็นใจ

  • สำรวจว่าแบบไหนคือความความเห็นอกเห็นใจและแบบไหนไม่ใช่ความความเห็นอกเห็นใจ
  • ให้คุณค่าความความเห็นอกเห็นใจในฐานะสิ่งที่เป็นประโยชน์ซึ่งทำให้เราปรารถนาที่จะปลูกฝังมัน

การเห็นคุณค่าและปลูกฝังอุปนิสัยทางจริยธรรมแบบอื่น

  • มองว่าการเป็นเจ้าของวัตถุต่าง ๆ อย่างเดียวไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับความจำเป็นทั้งหมดของเราได้
  • สำรวจคุณสมบัติภายในที่นำพาประโยชน์มาสู่ชีวิตเรา
  • พิจารณาเกี่ยวกับผลเสียของทัศนคติการเอาแต่ใจตัวเอง
  • สร้างความเอาใจเขามาใส่ใจเรา และการให้อภัยผู้อื่น

ทักษะด้านความสัมพันธ์

การฟังด้วยความเอาใจเขามาใส่ใจเรา

  • ฟังผู้อื่นอย่างเปิดใจ
  • ปฏิบัติ “การฟังในเชิงลึก” ซึ่งเราจะฟังผู้อื่นโดยไม่แสดงความคิดเห็นหรือทำการตัดสิน

การสื่อสารที่มีทักษะ

  • พัฒนาความสามารถในการสื่อสารในลักษณะที่เป็นประโยชน์และเสริมพลังให้กับตัวเราและผู้อื่น
  • โต้วาทีในหัวข้อต่าง ๆ กับเพื่อนและเลือกข้างที่เรามักจะไม่เห็นด้วย

การช่วยเหลือผู้อื่น

  • เข้าร่วมในบริการชุมชน งานอาสาสมัคร และการสุ่มแสดงน้ำใจ

การเปลี่ยนแปลงข้อขัดแย้ง

  • เรียนรู้การนำทางข้อขัดแย้งให้ประสบความสำเร็จ
  • พัฒนาความสันติภายใน ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสันติภายนอก

ขอบเขตทั่วโลก (Global Domain)

การเห็นคุณค่าของการพึ่งพากันและกัน

ทำความเข้าใจระบบที่พึ่งพากันและกัน

  • ทำความเข้าใจว่าการพึ่งพากันและกันเป็นกฎแห่งธรรมชาติและเป็นความเป็นจริงขั้นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์
  • มองว่าเราไม่สามารถมีชีวิตรอดได้โดยปราศจากผู้อื่น

บริบทของระบบที่บุคคลอาศัยอยู่

  • สร้างความรู้สึกกตัญญูรู้คุณต่อผู้อื่น
  • พัฒนาความตระหนักรู้ในเชิงลึกขึ้นเกี่ยวกับศักยภาพของเราในการส่งอิทธิพลต่อชีวิตของผู้อื่น
  • สร้างปณิธานเพื่อลงมือกระทำสิ่งที่สร้างความเป็นดีอยู่ดีในวงกว้างขึ้น

การตระหนักถึงมนุษยธรรมที่เรามีร่วมกัน

การเห็นคุณค่าความเท่าเทียมกันขั้นพื้นฐานของทุกคน

  • ตระหนักว่ามนุษย์ทุกหนทุกแห่งมีความเท่าเทียมกันขั้นพื้นฐานในความต้องการที่จะมีความสุขและไม่อยากเป็นทุกข์
  • ขยายขอบเขตความเอาใจเขามาใส่ใจเราไปสู่ผู้ที่อยู่นอกเหนือ “กลุ่มวงใน” ของเรา

การเห็นคุณค่าที่ระบบต่าง ๆ ส่งผลต่อความเป็นดีอยู่ดีของเรา

  • วิเคราะห์ระบบทางวัฒนธรรม การเมือง และสังคมที่ส่งผลต่อเราโดยการสนับสนุนคุณค่าเชิงบวก หรือการทำให้ความเชื่อที่เป็นปัญหาและความไม่เท่าเทียมกันคงอยู่ต่อไป

การมีปฏิสัมพันธ์ในชุมชนและในทั่วโลก

ศักยภาพของเราในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชนและในโลก

  • ทำความเข้าใจว่าถึงแม้เราจะมีข้อจำกัด เราก็มีความสามารถที่ยิ่งใหญ่ด้วย
  • มองว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในระดับเล็กมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงระดับทั่วโลก

เข้าร่วมแก้ปัญหาทางชุมชนและในทั่วโลก

  • รับรู้ถึงระบบต่าง ๆ ที่เราอาศัยอยู่และความซับซ้อนของระบบเหล่านั้น
  • ประเมินผลของการกระทำต่าง ๆ ในระยะสั้นและระยะยาว
  • ลดอิทธิพลของอารมณ์เชิงลบและความลำเอียง
  • ปลูกฝังทัศนคติเปิดใจ ร่วมมือ และถ่อมตนทางปัญญา
  • พิจารณาข้อดีและข้อเสียของแนวทางการปฏิบัติใด ๆ


หากคุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดอ่านโครงสร้างการเรียนรู้  SEE ฉบับเต็มและเรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมอื่น ๆ  ของศูนย์อนุปัสสนาวิทยาและจริยธรรมบนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ (Center for Contemplative Science and Compassion-Based Ethics)

Top